“กระ” เป็นปัญหาผิวพรรณของคนมีอายุเท่านั้นหรือ

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่ากระเป็นปัญหาผิวพรรณที่เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะแท้ที่จริงแล้ว กระแดดเกิดจากการที่คุณไม่ยอมดูแลปกป้องผิวจากแสงแดดมาเป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งเมื่อผิวคุณเริ่มเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น เม็ดสีและเมลานินที่ถูกทำลายจากแสงแดดจึงเกิดเป็นกระบนใบหน้าอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนั้นกรรมพันธุ์ก็มีส่วนทำให้มีโอกาสเป็นกระได้เช่นกัน (ทั้งกระแดด กระลึก กระเนื้อ) เพราะฉะนั้นหากปู่ย่าตายายเคยเป็นกระ และคุณไม่ค่อยกลัวแดด หรือขยันโดนแดด โอกาสเป็นกระแดดของคุณก็สูงขึ้นด้วย

กระ มีหลายประเภท ลักษณะเป็นจุดแบนราบหรือตุ่มนูนสีน้ำตาลที่มักพบบริเวณนอกร่มผ้า โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า แขน และหลังมือ แต่กระอาจพบได้ในบริเวณใต้ร่มผ้าเช่นกัน

กระมีกี่ชนิด

กระมีอยู่ 3 ชนิดได้แก่ กระแดด กระลึก และกระเนื้อ กระทั้ง 3 ชนิดนี้มีลักษณะรายละเอียดรูปร่างหน้าตาที่ต่างกัน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดด้วยการทายา แต่สามารถรักษาได้ด้วยเลเซอร์ กระแต่ละชนิดรักษาได้ด้วยเลเซอร์ต่างชนิดกัน เพราะฉะนั้นควรต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องก่อนที่จะตัดสินใจเลือกชนิดของเลเซอร์

กระแดด

ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลที่อยู่ตื้นๆ ขนาดประมาณ 1 มม. พบมากในคนที่มีผิวขาว ตำแหน่งที่เกิดบ่อยคือบริเวณโหนกแก้มและจมูก การกระจายของกระอาจเป็นทั่วใบหน้า แขน คอ และหน้าอก หรือบริเวณอื่นๆนอกร่มผ้าก็อาจเป็นได้ ตกกระเป็นอาการที่รักษาง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดซ้ำได้ง่าย เพราะสาเหตุของการตกกระมาจากการที่ผิวหนังบริเวณนั้นโดนแสงแดดเป็นเวลานาน ทำให้เม็ดสีบริเวณนั้นถูกกระตุ้นจนทำให้เกิดเป็นจุดสีน้ำตาลเข้มขึ้นมาได้

วิธีการรักษา กระแดดสามารถมีสีจางลงได้โดยการทาครีมกันแดดร่วมกับใช้ยาทาที่มีประสิทธิภาพช่วยลดเม็ดสี ร่วมกับยารับประทานคือวิตามินกลุ่ม antioxidant เช่น Vitamin C, Vitamin E หรือการลอกผิวด้วยกรดผลไม้ AHA 30-50% (กรดผลไม้เข้มข้น) เพื่อผลัดเซลล์ผิว AHA สามารถช่วยกำจัดเซลล์ผิวเก่าและช่วยผลักดันให้เซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาแทนที่ได้ หรือการทำทรีตเมนต์ MD White, Duo Bright, Ultralift แต่การรักษาที่มีประสิทธิภาพคือ ยิงเลเซอร์ เช่น Picosecond Laser, Melalase Laser, BB Laser, Dermabright Laser, Lite Clear Laser

กระลึก

กระลึก ปานโอตะ (Ota) และปานโฮริ (Hori) พบได้ประมาณ 20–30 % ของชาวเอเชีย ไทย ญี่ปุ่น อาจจะเกิดขึ้นกับคนที่สมาชิกในครอบครัวมีประวัติการเป็นกระลึกลักษณะเดียวกัน

กระลึกมีลักษณะเป็นจุดเล็กสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลเทา ขอบเขตไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างกับฝ้าตรงที่ฝ้าจะมีลักษณะเป็นแผ่น ตำแหน่งที่พบบ่อยของกระลึกมักพบรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้าง หรือบริเวณขมับทั้ง 2 ข้าง
นอกจากจะเกิดที่ผิวหนังปกติแล้วยังสามารถเกิดได้ที่บริเวณเยื่อบุของร่างกาย เช่น บริเวณเยื่อบุตาขาว หรือเพดานปาก

วิธีการรักษา กระลึกสามารถรักษาให้จางลงด้วย Melalase Laser, Dermabright Laser แต่ต่างกับกระแดดตรงที่ต้องทำหลายครั้ง เฉลี่ย 6-8 ครั้ง ห่างกันทุก 1-2 เดือน และมักพบมีรอยดำในช่วง 3-4 ครั้งแรก

กระเนื้อ

กระเนื้อ มีลักษณะเป็นตุ่มนูนผิวเรียบสีน้ำตาล มีจำนวนได้ตั้งแต่ 1-2 ตุ่มหรืออาจมีมากเป็นร้อยตุ่มก็ได้ เมื่อปล่อยไปตุ่มมักนูนหนามากขึ้น พบได้ทั้งบริเวณนอกร่มผ้าและในร่มผ้า กระเนื้อมักเริ่มปรากฏเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน ท่านใดที่มีกระเนื้อตั้งแต่อายุยังน้อยหรือมีกระเนื้อเป็นจำนวนมาก มักจะมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นกระเนื้อจำนวนมากเช่นกัน กระเนื้อสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ธรรมชาติของกระเนื้อต่างกับกระแดด คือการกลับเป็นซ้ำได้ในกระเนื้อซึ่งเกิดจากพันธุกรรม จะใช้เวลานานเป็นปี แต่กระแดดเกิดขึ้นใหม่จากแสงแดดจึงมักใช้เวลาไม่กี่เดือนหากไม่ปกป้องผิวจากแสงแดด

หลังการรักษากระด้วยเลเซอร์

อาจจะเกิดสะเก็ดเล็กน้อย เท่ากับจุดที่เป็นกระอยู่เดิม ซึ่งสะเก็ดแผลจะหลุดหมดไปภายใน 5-10 วัน ขึ้นกับการทายา และหลังการรักษาด้วยเลเซอร์ Melalase, เลเซอร์ CO2 ควรทาครีมกันแดดร่วมกับยาทาหลังเลเซอร์เพื่อป้องกันการเกิดรอยดำ ก็จะช่วยให้อาการข้างเคียงน้อยลงไป ถ้าเป็นเลเซอร์ชนิดไร้บาดแผล (โปรเเกรม Dermabright, BB Laser, Lite Clear Aura Plus) ก็ไม่ต้องทายาหลังเลเซอร์ แค่หลีกเลี่ยงแสงแดดตามปกติ

หลังการรักษาด้วยเลเซอร์จะมีโอกาสกลับมาเป็นอีกได้หรือไม่ ?

กระแดด สามารถเกิดใหม่จากการสัมผัสแสงแดด
กระเนื้อ บริเวณที่เลเซอร์ CO2 สามารถหายเป็นปกติ โอกาสเกิดใหม่เท่ากับผิวปกติตามพันธุกรรม
กระลึก หากรักษาหลายครั้งจนกระถูกทำลายจนหมดก็มักจะไม่กลับมาเป็นอีก

วิธีป้องกันการเกิดกระ

  • สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มจะเกิดกระได้ง่าย คุณต้องเริ่มจากการป้องกันและตัดปัจจัยเสี่ยงด้วยการหลีกเลี่ยงแสงแดด แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรทาครีมกันแดดที่สามารถช่วยป้องกันรังสี UVA และ UVB และมีค่า SPF50 PA+++ ขึ้นไป (ถ้าจำเป็นต้องตากแดดเกือบทั้งวัน ก็ควรทาครีมกันแดดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้มั่นใจว่าครีมกันแดดยังมีปริมาณเพียงพอต่อการป้องกันแสงแดด)
  • การหยุดยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน โดยเลือกใช้วิธีการอื่นในการคุมกำเนิดที่ไม่ใช้ฮอร์โมน
  • ป้องกันแสงแดดโดยสวมหมวกปีกกว้าง ใช้ร่ม แว่นตา ทาครีมกันแดด
  • การใช้ยาทาที่มีส่วนผสมที่ช่วยยับยั้งการเกิดเม็ดสีเมลานิน