ปัจจุบัน กลุ่มวัยรุ่นวัยทำงานที่กำลังอยู่ในช่วงสร้างเนื้อสร้างตัวมักจะทำงานหนัก บางคนทำงานมากกว่า 1 อาชีพ ต้องใช้เวลาเยอะ มีความเครียดโดยไม่รู้ตัว ที่สำคัญการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอนอนน้อย อดหลับอดนอน นอนไม่เป็นเวลา ยังเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคงูสวัด และความเชื่อที่ว่าโรคนี้จะเกิดเฉพาะกับกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น ไม่เป็นความความจริงแต่อย่างใด
งูสวัดเกิดจากสาเหตุใด
โรคงูสวัด เกิดจากไวรัสชนิดหนึ่งที่ชื่อว่าไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ หรือไวรัสเฮอร์ปีส์ ซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่งในกลุ่มไวรัสเริม เชื้อนี้หากเป็นในเด็กจะทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส แต่หลังจากที่หายจากโรคอีสุกอีใส เชื้อไวรัสจะยังคงซ่อนเร้นอยู่ในร่างกาย และเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายอ่อนแอลง หรือภูมิคุ้มกันต่ำลง อาการของโรคจะกำเริบทำให้เกิดโรคงูสวัดได้
อาการงูสวัด โรคที่เกิดได้กับคนทุกช่วงวัย ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ
อาการแสดงออกของไวรัส หรือโรคงูสวัด คือ
- มีตุ่มใสฐานสีแดง แต่จะไม่เหมือนกับอีสุกอีใสที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย โดยมีลักษณะเป็นกลุ่มหรือแถว เป็นซีกเดียวของร่างกาย หากงูสวัดขึ้นในเส้นประสาทที่อยู่อวัยวะที่อันตราย เช่น เส้นประสาทตา อาจจะทำให้ตาบอดได้ หรือสามารถทำให้เยื้อหุ้มสมองอักเสบได้ ขึ้นอยู่กับว่างูสวัดขึ้นตรงไหน
- มีอาการแสบร้อน
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคงูสวัด
- ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี
- ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย
- ใช้ยาที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง เช่น สเตียรอยด์ ยาบรรเทาอาการอักเสบ
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคเอชไอวี ทำให้มีความเสี่ยงกระตุ้นเชื่อไวรัสออกจากปมก่อนอายุ 60 ปี
วิธีการรักษาโรคงูสวัด
ใช้ยาต้านไวรัส ลดภาวะแทรกซ้อนปมประสาทที่จะเกิดขึ้น โดยมี 2 แบบ
- แบบรับประทานยาต้านไวรัส ใช้กับผู้ที่โรคไม่รุนแรง จะเน้นการรักษาแบบรับประทานแค่ 7วัน
- แบบฉีดยาต้านไวรัส ใช้กับผู้ที่โรครุนแรง ขึ้นที่เยื่อหุ้มสมอง ขึ้นตา ขึ้นหู หรือมีปริมาณเชื้อเยอะมาก
วิธีป้องกันงูสวัด
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ลดการใช้ยาที่ลดภูมิคุ้มกัน
- สำหรับกลุ่มคนอายุ 60 ขึ้นไป การฉีดวัคซีนงูสวัด เข็มเดียว ช่วยลดความเสี่ยงป้องกันได้ตลอดชีวิต
- กลุ่มวัยรุ่น สามารถฉีดได้ แต่ไม่แนะนำให้ฉีด
0 Comments