บทความวิจัย : แนวทางการดูแลและจัดการโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) และโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน: การนำเสนอตามเคสและข้อสรุปตามหลักฐาน

มีความเป็นไปได้ที่โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) นั้นอาจมีความเกี่ยวโยงกับโรค Multiple Sclerosis นอกจากนี้ ยังพบอุบัติการณ์ที่เพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคเบาหวาน (type 2 diabetes) metabolic syndrome โรคซึมเศร้า และแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมากกว่าทั่วไป ผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงินในระดับที่รุนแรงจะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น โดยสาเหตุหลักของการเสียชีวิตมาจากอาการทางหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งเสียชีวิตตอนที่มีอายุเฉลี่ยน้อยกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคสะเก็ดเงินร่วมด้วย 5 ปี พื้นฐานของความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของภาวะเหล่านี้มีความซับซ้อน โดยผลกระทบจากการอักเสบเรื้อรังอย่างเป็นระบบ ภาวะทางจิตสังคม (psychosocial issues) และความเป็นไปได้ที่จะเกิดผลข้างเคียงจากการรักษาต่างมีโอกาสที่จะเป็นปัจจัยสำคัญ

ประมาณ 80% ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมีอาการในระดับเล็กน้อยจนถึงปานกลาง ในขณะที่ 20% ของผู้ป่วยโรคนี้มีอาการในระดับปานกลางจนถึงขั้นรุนแรง ความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินไม่เพียงแต่จะถูกกำหนดโดยขอบเขตพื้นที่บนร่างกาย (Body surface area/BSA) ที่ได้รับผลกระทบ (<5% คือระดับเล็กน้อย, ≥5% แต่ <10% คือระดับปานกลาง และ ≥10% คือระดับรุนแรง) จากงานศึกษาที่ผ่านมาไม่นานยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของเซลล์ TH17 ซึ่งเป็น subset ของ T-helper เซลล์ ในการส่งผลต่อโรคสะเก็ดเงิน นอกเหนือไปจาก interleukin (IL)-17 แล้ว เซลล์ TH17 จะมีการหลั่ง cytokines อื่นๆ ซึ่งร่วมไปถึง IL-22 ที่กระตุ้นให้เกิดการเพิ่มจำนวนของ keratinocytes ทำให้เกิดการผลิต cytokines กับ chemokines ที่ได้มาจาก keratinocytes และเข้าไปเสริมให้เกิดการผลิตเปปไทด์ต้านจุลชีพ (antimicrobial peptides)

การรักษาด้วยยาทาจัดเป็นแกนหลักสำหรับการรักษาโรคที่ไม่รุนแรงทั้งที่เป็นแนวทางการรักษาแบบเดี่ยวหรือการรักษาร่วมกับแนวทางอื่นควบคู่ไปด้วย และยังเป็นวิธีการรักษาที่มักจะทำควบคู่ไปกับการบำบัดด้วยแสง (phototherapy) การรักษาด้วยสาร traditional systemic agents หรือ biologic agents สำหรับโรคที่มีอาการในระดับปานกลางจนถึงรุนแรง

ข้อจำกัดของยาทา corticosteroids ได้แก่ โอกาสในการทำให้เกิด skin atrophy และ systemic absorption โดยเฉพาะการใช้ยา corticosteroids ที่ออกฤทธิ์แรงในบริเวณ BSA ที่เป็นวงกว้างขึ้น ถึงแม้ว่าการรักษาโรคสะเก็ดเงินให้ประสบความสำเร็จจำเป็นที่จะต้องใช้ยาทา corticosteroids ที่มีการออกฤทธิ์ที่แรงขึ้น แต่ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ความระมัดระวังในการรักษาสมดุลระหว่างความจำเป็นดังกล่าวกับความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาขึ้นด้วย ในหลายกรณีที่มีการใช้ยาทา corticosteroids ที่มีการออกฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพต่ำแทบจะไม่ส่งผลทางการรักษาเลยต่อรอยโรคสะเก็ดเงินแบบ standard plaque ความพยายามในการดำรงไว้ซึ่งประสิทธิภาพของยาในระยะยาวและลดความเสี่ยงจากการใช้ยาทา corticosteroids มักจำเป็นที่จะต้องอาศัยการริเริ่มในกลยุทธด้านการหมุนเวียนและผสมผสานทางการรักษา

ความเสี่ยงเฉพาะสำหรับผู้หญิงที่มีโอกาสตั้งครรภ์ในการใช้ยาทาเพื่อรักษาโรคสะเก็ดเงิน

แม้ว่าผู้ป่วยหญิงอาจจะไม่ได้มีความคิดที่จะตั้งครรภ์อย่างจริงจัง แต่ก็ควรมีการคำนึงถึงปัจจัยด้านการตั้งครรภ์ในกรณีของผู้ป่วยหญิงที่เข้ารับการรักษาโรคสะเก็ดเงิน ถึงแม้จะยังมีการศึกษาที่ไม่เพียงพอนักในเรื่องของความเสี่ยงที่จะเกิด systemic absorption ในยาทารักษาโรคสะเก็ดเงิน ยาทาสำหรับรักษาโรคสะเก็ดเงินที่มีอยู่ทั้งหมดนั้นจัดเป็นยาประเภท pregnancy category C และมียา tazarotene ที่ถูกจัดอยู่ในยาประเภท category X ดังนั้น หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังมีแผนที่จะตั้งครรภ์ควรที่จะต้องได้รับคำปรึกษาอย่างรอบด้านถึงความเสี่ยงและคุณประโยชน์ที่จะได้จากการใช้ยารักษาเหล่านี้ ในขณะเดียวกัน ก็จะต้องคำนึงด้วยว่าอาการของโรคสะเก็ดเงินอาจจะดีขึ้นเองสำหรับผู้ป่วยในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญซึ่งกำลังตั้งครรภ์อยู่

แนะนำผลิตภัณฑ์

ลดอาการคัน สะเก็ดเงิน ด้วย EAZI ZORIA CREAM PAN Pcosmed ศูนย์รวมโซลูชั่นด้านผิวหนังครบวงจร

EAZI ZORIA CREAM เนื้อครีมดูแลปัญหา “สะเก็ดเงิน”