โรคเท้าเหม็น (Pitted keratolysis) ปัญหาผิวหนังในนักวิ่ง

ปัจจุบันคนไทยออกกำลังกายด้วยการวิ่งกันมากขึ้น จึงขอเล่าเรื่องปัญหาผิวหนังที่พบบ่อยในนักวิ่ง ซึ่งได้แก่ เล็บห้อเลือด ตุ่มน้ำใสพองที่ผิวหนัง ตาปลา ภาวะเท้าดำ ผิวแตกลาย ผิวหนังติดเชื้อโรค ผิวแพ้สัมผัส เช่นเดียวกับที่พบในนักกีฬาอีกหลายชนิดดังที่กล่าวไปแล้วในฉบับเดือนสิงหาคม นอกจากนี้นักวิ่งยังพบปัญหาผิวหนังอย่างอื่นอีก

โรคเท้าเหม็น (pitted keratolysis) พบบ่อยในนักกีฬา ที่มีเท้าอบชื้นอยู่เสมอ เช่นนักวิ่ง และผู้ที่ชอบเดินเท้าเปล่าย่ำน้ำหน้าฝนเช่นนี้ เมื่อผิวหนังชั้นขี้ไคลของฝ่าเท้าเปียกชื้นจากเหงื่อ หรือน้ำที่เจิ่งนอง ทำให้ผิวหนังยุ่ยและเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Micrococcus sedentarius พบได้บ่อย กว่าในผู้ชาย เพราะมีเหงื่อออกที่ฝ่าเท้ามากกว่า และผู้ชายมักสวมถุงเท้าอยู่ตลอดเวลา

EAZI Soothing Gel อีซี่ ซุทติ้ง เจล ไม่มีเสตียรอยด์ พร้อมฟื้นฟูผิวบอบบาง ให้กลับมาชุ่มชื้น ผิวแลดูสุขภาพดี

คลิกเลย

อาการสำคัญของโรคนี้ที่พบบ่อยสุดถึงร้อยละ 90 คือ เท้ามีกลิ่นเหม็นมาก นับเป็นการทำลายบุคลิกภาพ อาการรองลงมาที่พบร้อยละ 70 คือเวลาถอดถุงเท้าจะรู้สึกว่าถุงเท้าติดกับฝ่าเท้า ส่วนอาการคันนั้นพบได้น้อยคือ เพียงร้อยละ 8 ลักษณะของโรคเท้าเหม็น เห็นเป็นหลุมเล็กๆ ที่นิ้วเท้า ฝ่าเท้า บางครั้งหลุมอาจรวมตัวกันเป็นแอ่งเว้าตื้นๆ ดูคล้ายแผนที่ ถ้าขูดผิวหนังและย้อมเชื้อจะพบเชื้อแบคทีเรียติดสีน้ำเงิน

สำหรับการป้องกันโรคนี้คือ ต้องระวังให้เท้าแห้งอยู่เสมอ อาจใช้แป้งฝุ่นฆ่าเชื้อโรยบ้าง ส่วนการรักษานั้น ยารักษาโรคสิวที่ใช้กันบ่อยคือ เบนซอยล์เพอร์ออกไซด์ ก็นำมาใช้รักษาโรคเท้าเหม็นได้ผลดี นอกจากนั้นยาปฏิชีวนะและยาทาฆ่าเชื้อราก็รักษาโรคเท้าเหม็นได้

การดูแลสุขภาพเท้า

เลือกสวมรองเท้าที่มีขนาดพอเหมาะ

มีงานวิจัยชี้ว่าเด็กจำนวนมากสวมรองเท้าที่เล็กเกินไป พบว่าราวครึ่งหนึ่งของเด็กหญิงวัยเรียนเกิดปัญหาเกี่ยวกับเท้าเมื่ออายุได้เพียง 10 ขวบ พบความผิดปกติของเท้าหลายต่อหลายอย่าง เช่น เล็บขบ เล็บผิดรูปร่าง ตาปลา หรือกระดูกคด ล้วนเกิดจากการใส่รองเท้าที่มีขนาดไม่เหมาะสม

ล้างเท้าทุกวัน

ยกเว้นกรณีที่ผิวหนังเท้าแห้งและแตกอยู่แล้ว หลังจากล้างเท้าไม่ควรสวมรองเท้าถุงเท้าทันที ควรรอให้เท้าแห้งสนิทก่อนจึงค่อยสวมรองเท้า อาจใช้ผ้าขนหนูซับเท้าหรือใช้พัดลมเป่าเพื่อให้เท้าแห้งเร็วขึ้น

ระวังส้นเท้าแตก

อาจต้องดูแลเท้าเป็นพิเศษระหว่างการอาบน้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เมื่อผิวหนังนุ่มตัวจากการสัมผัสน้ำ แล้วให้ใช้หินขัดขี้ไคลค่อยๆ ถูเท้าที่มีหนังหนาตัวขึ้นกว่าปกติ หลังจากนั้นให้ทาครีมให้ความชุ่มชื้น นวดบริเวณส้นเท้าและฝ่าเท้า วิธีนี้ช่วยป้องกันปัญหาส้นเท้าแตกได้

ใช้แป้งฝุ่นโรย

หากเหงื่อออกที่เท้ามาก ใช้แป้งฝุ่นโรยก็ช่วยได้ เลือกใช้แป้งทั่วไป หรือแป้งเฉพาะสำหรับเท้าที่เรียกว่า foot powder แป้งชนิดนี้มีลักษณะคล้ายแป้งฝุ่นทาตัว เพียงแต่เนื้อแป้งอาจหนากว่า และดูดซึมน้ำได้ดีกว่า การโรยแป้ง ทำให้ผิวที่เท้าแห้ง ไม่เฉอะแฉะ จึงลดอาการระคายเคืองและช่วยให้เกิดความรู้สึกเย็นสบาย ควรเปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน และควรใส่รองเท้าสลับวันเว้นวัน คู่ใดไม่ได้ใส่ก็ผึ่งเสียให้แห้ง

ป้องกันเล็บขบ

เล็บขบพบได้บ่อยในคนที่สวมรองเท้าคับเกินไป และตัดเล็บผิดวิธี เล็บมือนั้นให้ตัดเป็นรูปโค้งมนตามนิ้วมือได้ แต่ถ้าตัดเล็บเท้าโค้งมนตามนิ้วจัดเป็นการตัดเล็บที่ผิดวิธี เพราะเมื่อเล็บงอกขึ้นมาใหม่ เล็บอาจงอกแทงผิวหนังข้างๆเล็บ ทำให้เกิดการอักเสบบวมแดง การตัดเล็บเท้าที่ถูกต้อง คือ ตัดเป็นเส้นตรง

การป้องกันโรคผิวหนังของนักกีฬา หรือผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ

ชอบออกกำลังกาย แต่ไม่อยากเป็นโรคผิวหนัง เรามีวิธีการป้องกันมาฝากกัน รับรองว่าได้ผลอย่างแน่นอน

  • ดูแลรักษาความสะอาดอยู่เสมอ อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และควรอาบน้ำ หรือทำความสะอาดร่างกายหลังออกกำลังกายทุกครั้ง แต่หากว่าทำไม่ได้ อย่างน้อยให้เปลี่ยนเสื้อผ้าเพื่อลดความเปียกอับชื้น
  • ไม่ใส่เสื้อผ้าซ้ำ โดยเฉพาะเสื้อผ้าที่เปียกชื้น หรือเหม็นอับ
  • เลือกใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี แห้งไว ควรเลือกเสื้อผ้าที่ออกแบบมาเพื่อใส่ออกกำลังกายโดยเฉพาะ ที่มีคุณสมบัติในการระบายอากาศ ลดความอับชื้น
  • ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า หรือผ้าเช็ดตัว
  • ไม่ปล่อยให้ผิวเปียกชื้นเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าหลังออกกำลังกายทันที
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป ควรเลือกชุดชั้นในที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติ
EAZI Soothing Gel อีซี่ ซุทติ้ง เจล ไม่มีเสตียรอยด์ พร้อมฟื้นฟูผิวบอบบาง ให้กลับมาชุ่มชื้น ผิวแลดูสุขภาพดี

คลิกเลย