✨ รวมโปรโมชั่น PCOSMED โค้ดส่วนลดสุดคุ้ม ✨

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) สาเหตุ อาการและวิธีรักษา

by | Oct 18, 2023 | โรคผิวหนัง

โค้ดลด
EAZI Skin Head and Body
ราคาโปรโมชั่น + แถมสินค้าตัวอย่างฟรี
ใช้รหัสและรับส่วนลด
หมดอายุ 16 พฤศจิกายน 2024
เฉพาะสินค้าที่ร่วมรายการ ขั้นต่ำตามที่กำหนด

คำแนะนำโรคอีสุกอีใส (Chickenpox, Varicella)

โรคอีสุกอีใส เป็นโรคติดต่อที่มาด้วยอาการไข้ออกผื่น พบมากในเด็ก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา-ซอสเตอร์ โดยทั่วไปจะพบอัตราการป่วยได้สูงสุดในกลุ่มอายุ 5-9 ปี รองลงมาคือ 0-4 ปี, 10-14 ปี, 15-24 ปี และ 25-34 ปี ตามลำดับ ในคนที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปอาจพบได้บ้าง โรคนี้มีโอกาสเกิดได้ใกล้เคียงกันทั้งหญิงและชาย ซึ่งมักจะเป็นคนที่ไม่เคยป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้มาก่อน

โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ระบาดแพร่กระจายได้ง่าย โดยเฉพาะในโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือตามชุมชนที่อยู่อาศัยทั่วไป สามารถพบได้ตลอดทั้งปี แต่จะมีอุบัติการณ์เกิดสูงสุดในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า “ไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์” (Varicella zoster virus – VZV) หรือ Human herpesvirus type 3 (HHV-3) โดยเชื้อนี้จะก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใสในผู้ที่เพิ่งติดเชื้อเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นเชื้อจะหลบซ่อนอยู่ในปมประสาท เมื่ออายุมากขึ้นหรือภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อที่หลบซ่อนอยู่ก็จะเจริญเติบโตขึ้นใหม่ก่อให้เกิดโรคงูสวัด
การติดต่อ

ติดต่อโดยการหายใจเอาฝอยละอองจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยเข้าไป หรือจากการสัมผัสโดยตรงกับตุ่มน้ำที่ผิวหนังของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ
ระยะเวลาแพร่เชื้อได้ คือ 1-2 วันก่อนผื่นขึ้นจนกระทั่งผื่นตกสะเก็ดหมด

ระยะฟักตัวของโรค

ประมาณ 10-21 วัน แต่โดยเฉลี่ยคือประมาณ 14-17 วัน หลังจากได้รับเชื้อโรค หรือสัมผัสผู้ป่วย

อาการ

เริ่มจากมีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และมีผื่นขึ้นเริ่มจากลำตัว ใปหน้า และลามไปแขนขา ผื่นจะขึ้นบริเวณลำตัวมากกว่าแขนขา อาจพบตุ่มในช่องปากและเยื่อบุต่างๆ ลักษณะผื่นตอนแรกจะเป็นผื่นแดง มักมีอาการคันร่วมด้วย ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มน้ำอย่างรวดเร็ว และตกสะเก็ด ในที่สุดสะเก็ดจะหลุดหายไปในเวลา 5-20 วัน

การวินิจฉัย

โดยทั่วไปแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากการตรวจร่างกาย โดยดูจากลักษณะอาการสำคัญของโรค ไม่จำเป็นต้องมีการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม ยกเว้นในผู้ป่วยที่เกิดผลข้างเคียงแทรกซ้อน หรือในกรณีจำเป็นต้องวินิจฉัยให้แน่ชัด แพทย์จะทำการทดสอบน้ำเหลืองเพื่อหาระดับสารภูมิต้านทานต่อไวรัสอีสุกอีใส หรือตรวจหาเชื้อจากตุ่มน้ำ

PAN Pcosmed ศูนย์รวมโซลูชั่นด้านผิวหนังครบวงจร

อีสุกอีใส (Chickenpox) เปรียบเทียบ โรคหัด (Measles)

ภาวะแทรกซ้อน

ในเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงพบได้น้อย

  • แต่ถ้าเป็นในผู้ใหญ่อาจพบภาวะแทรกซ้อนได้มากขึ้น ที่พบได้บ่อยคือ การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนจนกลายเป็นหนองและอาจทำให้เป็นแผลเป็นได้
  • ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่พบได้น้อย คือ ปอดอักเสบและสมองอักเสบ
  • ในหญิงตั้งครรภ์ถ้าเป็นโรคสุกใสในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกอาจทำให้เด็กในครรภ์พิการได้ เรียกว่า “กลุ่มอาการอีสุกอีใสแต่กำเนิด” (Congenital varicella syndrome) ทำให้มีแผลเป็นตามตัว แขนขาลีบ ตาเล็ก ต้อกระจก ศีรษะเล็ก ปัญญาอ่อน เป็นต้น
  • นอกจากนี้นี้ถ้าเป็นในระยะก่อนคลอด 5 วัน หรือ หลังคลอด 2 วันอาจทำให้ทารกที่เกิดมาเป็นอีสุกอีใสชนิดรุนแรงได้
    เมื่อผู้ป่วยหายจากโรคสุกใสแล้ว เชื้อไวรัส จะหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทต่าง และทำให้เกิดโรคงูสวัดได้ เมื่อภูมิต้านทานของร่างกายลดลงร่างกายอ่อนแอ แก่ตัวลง หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ

วิธีรักษา

  • ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง และหายเองได้
  • การรักษาด้วยยาต้านไวรัสอาจทำให้ระยะเวลาการเป็นโรคสั้นลง หากผู้ป่วยได้รับภายใน 24 ชั่วโมงหลังผื่นขึ้น ซึ่งผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องได้รัยยาต้านไวรัสทุกราย แพทย์มักพิจารณาให้ในรายที่มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
  • ถ้าไข้สูง ใช้ผ้าเช็ดตัวลดไข้ อาจให้ยาลดไข้ในกลุ่มพาราเซทามอล ไม่ควรใช้ยากลุ่มแอสไพลินเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไรย์ ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดความผิดปกติทางสมองและตับอย่างรุนแรง
  • แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานยากลุ่มแอนตี้ฮีสตามีน หรือ ทาคาลาไมน์ เพื่อบรรเทาอาการคัน
  • ระวังอย่าให้ผู้ป่วยเกาเพราะอาจเป็นแผลติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ แนะนำผู้ป่วยตัดเล็บให้สั้น

การป้องกันการแพร่กระจายโรค

  • ผู้ที่เป็นโรคสุกใสควรแยกตัวจากผู้อื่น โดยหยุดเรียน หรือหยุดงาน จนกว่าผื่นตกสะเก็ดหมด ไม่ควรใกล้ชิดผู้อื่นโดยเฉพาะ หญิงมีครรภ์ เด็กทารก และผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ

วัคซีนสำหรับป้องกันโรค

เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็นฉีดเข้าที่ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ในผู้ใหญ่และเด็กอายุเกิน 12 ปีต้องฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์ เนื่องจากวัคซีนเป็นชนิดเชื้อเป็นจึงมีข้อห้ามในผู้ทีมีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ทีรับประทานยากดภูมิต้านทาน ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ยังไม่ได้รักษา และหญิงมีครรภ์

ในเด็กที่ไม่มีข้อบ่งห้าม สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 12 – 15 เดือนขึ้นไป และฉีดกระตุ้นอีกครั้งที่อายุ 4 -6 ปี หรืออาจฉีด 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งภูมิต้านทานจะขึ้นดีกว่าฉีด 1 เข็ม

เมื่อฉีดครบ 2 เข็มพบว่า 99% ของผู้รับวัคซีนจะเกิดภูมิต้านทานต่อโรค ผู้ที่ได้รับวัคซีนส่วนหนึ่งยังอาจเกิดโรคสุกใสได้ แต่อาการจะไม่รุนแรง เช่น อาจไม่มีไข้ หรือจำนวนผื่นน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่เคยรับวัคซีน

ในปัจจุบันมีการผลิตวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสให้อยู่ในรูปแบบของวัคซีนที่รวมอยู่ในเข็มเดียวกัน ได้แก่ วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน และอีสุกอีใส (MMRV) ทำให้สะดวกและไม่ต้องเจ็บตัวมากขึ้น


โค้ดลด
EAZI Skin Head and Body
ราคาโปรโมชั่น + แถมสินค้าตัวอย่างฟรี
ใช้รหัสและรับส่วนลด
หมดอายุ 16 พฤศจิกายน 2024
เฉพาะสินค้าที่ร่วมรายการ ขั้นต่ำตามที่กำหนด

แสดงความคิดเห็น

0 Comments

Submit a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *