การปฐมพยาบาลบื้องต้น แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และการรักษา

บาดแผลที่เกิดจากความร้อน เช่น แผลไฟไหม้ แผลไฟฟ้าช็อต ถูกสารเคมีกรดด่าง วัตถุที่ร้อน แผลน้ำร้อนลวก ความรุนแรงของอาการบาดเจ็บจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระยะเวลาที่ผิวหนังสัมผัสกับความร้อน ขนาดความกว้าง ความลึก และตำแหน่งของบาดแผล

ถ้าอาการเป็นเพียงเล็กน้อยจะค่อยๆ หายได้เอง แต่ถ้าการบาดเจ็บระดับรุนแรง อาจติดเชื้อ และมีภาวะแทรกซ้อนตามมา ซึ่งทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้

EAZI Astrinz Gel อีซี่ แอสทริ๊งซ์ เจล สมานผิว ลดอาการแผลถลอก ผิวพุพอง แสบร้อน ไม่ก่อให้เกิดอาการแสบร้อนขณะทา

คลิกเลย

3 ระดับความรุนแรงของแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

หลักสำคัญในการพิจารณาระดับความรุนแรงของบาดแผลไฟไหม้/น้ำร้อนลวก คือความลึก โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • ความลึกระดับที่ 1 เป็นการไหม้บริเวณผิวหนังด้านนอกหรือชั้นหนังกำพร้า หากไม่เกิดการอักเสบ ส่วนใหญ่จะสามารถหายได้โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น
  • ความลึกระดับที่ 2 เป็นการไหม้ถึงชั้นผิวหนังด้านนอกและด้านใน กล่าวคือหนังกำพร้าทั้งชั้น และหนังแท้ส่วนที่อยู่ติดกับหนังกำพร้า หากไม่เกิดการติดเชื้อ จะหายได้และไม่ทิ้งรอยแผลเป็นเช่นเดียวกันกับระดับที่ 1
  • ความลึกระดับที่ 3 เป็นการไหม้ลึกถึงชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังทั้งหมดรวมถึงเส้นประสาท แผลที่เกิดขึ้นมีโอกาสติดเชื้ออย่างรุนแรง และมักจะหายยาก

วิธีการปฐมพยาบาล

เมื่อพบผู้มีแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ควรปฏิบัติตามวิธีปฐมพยาบาลก่อนจะนำส่งผู้ป่วยไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยมีวิธีแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงดังนี้

  • ความลึกระดับที่ 1 เริ่มต้นจากการทำให้ผิวหนังที่โดนความร้อนเย็นลง โดยใช้น้ำเย็นประคบแผลอย่างน้อย 20 นาที หรือจนอาการปวดแสบปวดร้อนลดลง จากนั้นปิดแผลด้วยผ้ากอซหรือผ้าสะอาด หากพบว่ามีตุ่มใส ควรเดินทางไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป
  • ความลึกระดับที่ 2 มีขั้นตอนการปฐมพยาบาลเหมือนกับระดับที่ 1 แต่หากบาดแผลมีขนาดประมาณ 10-15 ฝ่ามือ ควรนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลทันที สิ่งที่ทำได้ระหว่างรอรถพยาบาล คือถอดหรือตัดเสื้อผ้าในบริเวณที่เกิดบาดแผลออก หากใส่เครื่องประดับอยู่ ให้ถอดออกทั้งหมด และพยายามยกส่วนที่เกิดบาดแผลให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เลือดกลับสู่หัวใจได้สะดวกไม่กองอยู่ตรงบาดแผล
  • ความลึกระดับที่ 3 ให้นำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ในกรณีบาดแผลมีขนาดใหญ่มากกว่า 10-15 ฝ่ามือ แนะนำให้ทำการปฐมพยาบาลเช่นเดียวกับความลึกระดับที่ 1 และ 2 ก่อน

วิธีการรักษา

สำหรับการรักษาเบื้องต้นที่สามารถทำได้เองคือการทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเปล่า ในกรณีที่แผลสกปรกมาก อาจใช้สบู่อ่อนทำความสะอาด ก่อนจะใช้น้ำอุณหภูมิห้องแช่แผลหรือปล่อยให้น้ำไหลผ่านอย่างน้อย 5 นาที แต่ไม่ควรเกิน 20 นาที จากนั้นทำการปิดแผลและนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล

ส่วนการรักษาที่โรงพยาบาล แพทย์จะเริ่มต้นด้วยการทำความสะอาดแผลอีกครั้ง แล้วประเมินความลึกและความกว้างของแผล หากมีเนื้อตายจะทำการตัดออก จากนั้นจะปิดแผล โดยจะเลือกใช้ครีมหรือขี้ผึ้งทาแผล หรือใช้วัสดุปิดแผลที่เหมาะสม และจะมีการทำความสะอาดและประเมินบาดแผลเพิ่มเติมทุก 1-4 วัน แล้วแต่สภาพของแผล ขณะเดียวกันผู้บาดเจ็บอาจได้รับยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวดตามความจำเป็น กรณีแผลไม่ลึกจะหายได้ในเวลา 1-3 สัปดาห์ ส่วนแผลลึกมักจะต้องตัดเอาหนังของผู้บาดเจ็บเองมาปิด ซึ่งจะทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น

EAZI Astrinz Gel อีซี่ แอสทริ๊งซ์ เจล สมานผิว ลดอาการแผลถลอก ผิวพุพอง แสบร้อน ไม่ก่อให้เกิดอาการแสบร้อนขณะทา

คลิกเลย