โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Skin) ดูแลด้วยตัวเอง

หลายคนคงสงสัยว่า Atopic Skin มันคืออะไร แล้วจะดูแลได้อย่างไร ก่อนอื่นเรามาเริ่มทำความเข้าใจกับโรคนี้กันก่อนนะครับ ถ้าให้พูดตรงๆว่าสาเหตุของ Atopic Skin มันคืออะไร ก็ต้องตอบๆตรงๆอย่างหน้าชื่นตาบานเลยว่าว่า ไม่ทราบครับ เพราะถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีใครฟันธงลงไปได้ว่าสาเหตุคืออะไรกันแน่ แต่ก็พอจะเห็นเค้าลางกันว่า น่าจะมีสาเหตุมาจากภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติ ทำให้ผิวหนังไวต่อการกระตุ้นผสมกับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย ทำให้เกิดการอาการอักเสบขึ้น และเท่าที่ติดตามดูเราพบว่าพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้อง ถ้าใครมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ก็จะมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคนี้ด้วย

PAN Dermacare แพนเดอร์มาแคร์ ผลิตภัณฑ์เพื่อดุลยภาพแห่งผิว สำหรับผิวบอบบางแพ้ง่าย และทุกสภาพผิว

คลิกเลย

การอักเสบของผิวหนังค่อนข้างเรื้อรัง เป็นๆหายๆ นั่นคือบางช่วงมีอาการอักเสบของผิวหนังอย่ามาก อาจจะถึงกับมีตุ่มน้ำใสๆ ผิวแห้งจน มีขุย คันมาก จนบางคนถึงกับคันจนนอนไม่ได้ จากนั้นอาการต่างๆก็ค่อยๆสงบ แล้วก็กลับมาอักเสบอีก เป็นๆหายๆ อย่างนี้

ตำแหน่งของผิวหนังอักเสบก็จะค่อนข้างแตกต่างกันตามอายุในวัยทารกนั้น ผื่นผิวหนังอักเสบจะเกิดที่แก้ม และคาง เป็นผื่นแดงๆ หนาๆ มีขุย และก็มีน้ำเหลืองซึมๆออกมา บางครั้งบางคราวก็จะมีการติดเชื้ร่วมด้วย ทารกจะกระสับกระส่าย งอแง เพราะคันมากนั่นเอง ส่วนในเด็กโต ผื่นมักจะเป็นที่ข้อพับต่างๆ เช่นที่ ข้อศอก ข้อพับเข่า ที่คอ คันมาก มักจะเกาจนผิวเหล่านั้นเกิดอาการด้านและหนาตัว

สำหรับอุบัติการณ์ของโรคนี้นับว่าไม่น้อยเลย เราพบว่า10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเป็นโรคนี้ และครึ่งหนึ่งของคนเป็นโรคนี้ปรากฏอาการภายในขวบปีแรก และ ที่เหลือเกือบทั้งหมดมักจะปรากฎอาการภายในไม่เกิน 5 ชวบ พูดง่ายๆก็คือผู้ที่เป็นโรคนี้เกือบทั้งหมดจะเริ่มเกิดอาการภายใน 5 ปีแรกของชีวิตแต่นับว่าโชคดีอย่างหนึ่งก็คือ ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยการอักเสบจะบรรเทาเมื่ออายุมากขึ้น

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง Atopic Dermatitis

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง Atopic Dermatitis

จำนวนไม่น้อยของผู้ป่วย Atopic Skin มักจะมีโรคภูมิแพ้อย่างอื่นร่วมด้วย เช่น โรคหอบหืดโรคแพ้อากาศ หรือไม่ก็มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเหล่านี้

ผู้เขียนขอผ่านเรื่องการวินิจฉัย และการรักษาโรคนี้ไปก่อนนะครับ เพราะการวินิจฉัยมันออกจะสลับซับซ้อนอยู่สักหน่อย ขอให้เป็นหน้าที่ของแพทย์ที่รักษาดีกว่านะครับ ส่วนการรักษาก็ต้องใช้ยาซึ่งแพทย์ที่รักษาก็จะเป็นคนดูแลให้เช่นกัน

มาดูเรื่องที่สามารถดูแลตัวเองกันได้ดีกว่านะครับ

  • อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การดำเนินของโรคมีทั้งช่วงเห่อ และช่วงสงบสลับๆกับ แต่ก็พบว่า มีปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมหลายอย่างที่กระตุ้นให้เกิดเห่อ ซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้และสามารถควบคุมปัจจัยเหล่านี้ได้ ก็จะสามารถป้องกันการเห่อของโรคได้ อันนี้น่าจะมีประโยชน์ เรามาดูสาเหตุที่กระตุ้นการเห่อกัน
  • อาหารบางชนิด สำหรับผู้ป่วย(เน้นว่าบางคนเท่านั้น) สามารถกระตุ้นให้เกิดการเห่อได้ เช่น นม ไข่ ถั่วลิสง ถั่วต่างๆ เพราะฉะนั้นขอให้สังเกตว่าถ้าทานอาหารเหล่านี้แล้วเห่อก็ควรงด
  • การติดเชื้อบางชนิด เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ยามที่ร่างกายติดเชื้อเหล่านี้ จะกระตุ้นให้เกิดการเห่อได้ เพราะฉะนั้นจะต้องระวังการติดเชื้อเหล่านี้
  • อากาศที่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป การอาบน้ำอุ่น เรียกว่าผู้ป่วยจะต้องพยายามอยู่ในอุณหภูมิช่วงที่ค่อนข้างปกติ มิฉะนั้นอาจจะทำให้เห่อได้
  • อารมณ์เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่กระตุ้น เราพบว่า ผู้ที่มีความวิตกกังวลเก่ง มีความเครียด พักผ่อนไม่พอจะกระตุ้นให้เกิดการเห่อขึ้นมาได้ เพราะการพักผ่อน การรู้จักผ่อนคลายจะลดการกระตุ้นลงไปได้มาก
  • การปล่อยหรือทำให้ผิวแห้ง เช่น อาบน้ำอุ่น อยู่ในแอร์นานเกินไป การใช้สบู่ฟอกมากจนเกินไป การขาดการใช้พวก Moisturizer บำรุงผิว เหล่านี้จะทำให้เห่อได้
  • การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะเนื่องจากผิวหนังของคนที่เป็นโรคนี้ มีแนวโน้มที่จะแห้ง มีแนวโน้มว่าจะไวต่อสารต่างๆที่จะมากระตุ้นให้เกิดการแพ้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ควรเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Hypoallergic ปราศจากกลิ่น น้ำหอม สาร Emulsifier ซึ่งสารเหล่านี้จะเป็นตัวการของการแพ้ นอกจากนี้ก็ไม่ละลายนิเกิลด้วย เพราะสารนิเกิลเป็นตัวการของการแพ้มากที่สุดสารหนึ่ง

ถ้าสามารถปฎิบัติตามที่กล่าวมาเหล่านี้ได้ก็จะลดการเห่อของโรคนี้ลงไปได้อย่างมากครับ

PAN Dermacare แพนเดอร์มาแคร์ ผลิตภัณฑ์เพื่อดุลยภาพแห่งผิว สำหรับผิวบอบบางแพ้ง่าย และทุกสภาพผิว

คลิกเลย