2 โรคร้าย อันตรายถึงชีวิต ที่มียุงเป็นพาหะ

ถ้าโลกนี้ไม่มียุงก็คงดี หลายคนคงคิดอย่างนี้ เพราะ ยุง เป็นแมลงที่สร้างความรำคาญ กัดเจ็บ ทำให้เราคัน แล้วยังสามารถเป็นพาหะแพร่เชื้อโรคต่าง ๆ ให้กับเราได้หลายชนิด ซึ่งเชื้อโรคบางอย่างอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตเลยก็ได้ เราจึงไม่ควรประมาณยุงตัวเล็ก ๆ เหล่านี้

ยุง เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในจำพวกแมลง มี 6 ขา แบ่งร่างกายออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ หัว อก ท้อง มีปากแบบเจาะดูด รู้หรือไม่ว่า ยุงที่กัด ดูดเลือดและแพร่เชื้อโรคนั้นคือ ยุงตัวเมีย เท่านั้น ส่วนยุงตัวผู้ไม่ได้ดูดเลือดคน ยุงที่พบในโลกนี้ทั้งหมด มีประมาณ 4,000 ชนิด แต่ยุงที่นำโรคที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่มี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ยุงลาย ยุงก้นปล่อง ยุงเสือ และ ยุงรำคาญ โดยโรคร้าย 2 ชนิดที่มียุงเป็นพาหะ ที่คร่าชีวิตคนไทยและคนทั่วโลกทุกปีได้แก่

1. โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (มี 4 สายพันธุ์) ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ

พาหะ : ยุงลาย เป็นพาหะของโรค ซึ่งยุงลายจะชอบวางไข่บริเวณที่น้ำขัง ในภาชนะต่าง ๆ เช่น จานรองกระถางต้นไม้ , ถังน้ำที่ไม่ได้ปิดฝา , จานรองน้ำตู้กับข้าว หรือ ในสวนผลไม้ สวนยาง เมื่อยุงลายดูดเลือดของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่มีเชื้อไวรัสเดงกีอยู่ เชื้อโรคนี้จะเข้าไปอยู่ในตัวยุง และเมื่อยุงตัวนี้ไปกัดคนอื่นต่อ เชื้อไวรัสนี้จะเข้าสู่ร่างกายของผู้ที่โดนกัด ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก

อาการของโรค : ไข้สูงอย่างรวดเร็วเกิน 38 องศา ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน คล้ายมีผื่นหรือจ้ำเลือดตามผิวหนัง หลังจากมีไข้ประมาณ 1 อาทิตย์ ไข้จะเริ่มลดลง ผื่นแดงเริ่มหายไป และหายเป็นปกติ แต่บางรายที่มีอาการรุนแรงอาจจะเกิดจาก เป็นผู้ที่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อนแล้ว และเป็นซ้ำอีก แต่ครั้งที่เป็นซ้ำนี้ เป็นยุงคนละสายพันธุ์ อาการของโรคจะรุนแรงมากกว่าปกติ มีโอกาสเสียชีวิตได้ 5-10%

PAN Pcosmed ศูนย์รวมโซลูชั่นด้านผิวหนังครบวงจร

ยุงลาย เป็นพาหะของโรค

2. โรคมาลาเรีย เกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม (มี 5 ชนิดที่ทำให้เกิดโรค) ซึ่งมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ

พาหะ : ยุงก้นปล่อง เป็นพาหะนำโรค ซึ่งยุงก้นปล่องมักจะชอบวางไข่บริเวณแหล่งน้ำขังตามธรรมชาติ ยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะ มีเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียมอยู่ในตัว เมื่อกัดคนจะแพร่เชื้อนี้เข้าสู่กระแสเลือดของคน ทำลายเม็ดเลือดแดง มักพบการระบาดกับคนที่อาศัยอยู่บริเวณชายป่า

อาการของโรค : เป็นไข้สูง หนาวสั่น ตัวเย็น ตัวเกร็ง หน้าแดง ปากซีด ปวดศีรษะ ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาจจะมีโลหิตจาง หรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด โดยมากแพทย์จะให้ยาต้านมาลาเรีย เมื่อไข้ลดลงจะมีอาการเหงื่อออก

บทสรุป

เห็นพิษภัยของยุงกันแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องดูแลทำความสะอาดบ้าน คว่ำภาชนะทุกชนิด ไม่ให้เหลือน้ำขังทิ้งไว้ หมั่นดูน้ำรองต้นไม้ อ่างบัว ไม่ให้มีลูกน้ำยุงเกิดขึ้น และพยายามสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ผู้ที่อยู่บริเวณเสี่ยงกับการเกิดโรค ก็ควรจะระวังเป็นพิเศษ อย่าให้ยุงกัดตอนกลางวัน เพราะยุงที่นำโรคส่วนมากเป็นยุงที่กัดตอนกลางวัน