งานวิจัยเผย ทำไมเราถึงคัน ?? คนปกติก็ยังคันเหตุจากแบคทีเรีย
นักวิทยาศาตร์ทำการทดลอง “สาเหตุอาการคัน” เกิดจากอะไร แบคทีเรียในผิวหนังกระตุ้นอาการคันยิบ ๆ แล้วส่งสัญญานไปยังสมองให้เราต้องเกา แม้แต่คนปกติที่ไม่ได้ป่วยผิวหนังอักเสบ จู่ ๆ ยังรู้สึกคัน
Liwen Deng ผู้เชี่ยวชาญจาก Harvard Medical School ตั้งต้นการวิจัยกับคำถามที่ว่า “แบคทีเรียในผิวหนังซึ่งทำให้เราคัน ออกฤทธิ์โดยตรงต่อเซลล์ประสาทของเราได้อย่างไร?”
ดร.เติ้ง ใช้กลุ่มหนูทดลองโดยนำแบคทีเรีย “สตาฟิโลคอคคัส ออเรียส” (Staphylococcus aureus) เป็นปรสิตที่อยู่ตามผิวหนังและเยื่อเมือกของคนและสัตว์ สาเหตุของฝีและแผลพุพอง ไปสัมผัสกับผิวของหนู พบว่าพวกมันมีอาการคันรุนแรงขึ้น แถมผิวไวต่อการสัมผัสมากขึ้นกว่าเดิม
Staphylococcus aureus ถูกดัดแปลงตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อระบุเอนไซม์ที่ทำให้เกิดอาการคันอย่างแท้จริง ปรากฎว่าเอนไซม์ V8 เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการคัน โดยการเข้าไปกระตุ้นโปรตีนชื่อ PAR1 พบได้ในเซลล์ประสาทผิวหนังที่ส่งสัญญาณต่าง ๆ อาทิ ความเจ็บปวด ความร้อน และอาการคัน ไปยังสมอง
เมื่อนักวิจัยทำการทดลองซ้ำในจานแล็บที่มีเซลล์ประสาทของมนุษย์ พวกเขาพบว่าเซลล์ของคนตอบสนองต่อ V8 เช่นกัน
ดร.เติ้ง กล่าวว่า “เราแสดงให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้สามารถแยกออกได้ ผิวของคุณไม่จำเป็นต้องมีการอักเสบเพื่อถูกกระตุ้นให้คัน แต่อาการคันยิบ ๆ จะทำให้การอักเสบบนผิวหนังรุนแรงขึ้น”
เนื่องจาก PAR1 เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด และเป็นสาเหตุหลักของอาการคัน นักวิจัยจึงได้กำหนดวิธีป้องกันอาการคันด้วยการลองใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ได้รับการอนุมัติแล้ว และมันก็ได้ผล
หนูทดลองที่มีอาการคันเริ่มดีขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อได้รับการรักษา ทั้งในแง่ของอาการคันและความเสียหายที่ผิวหนัง ทั้งนี้นักวิจัยเชื่อว่ายาดังกล่าวสามารถใช้เป็นยาแก้คันในมนุษย์ได้ และอาจเป็นส่วนผสมในสกินแคร์ชนิดใหม่
จากการวิจัยเรื่องอาการคันของ ดร.เติ้งกล่าวว่า “อาการคันอาจทำให้อาการของผู้ป่วยโรคผิวหนังเรื้อรังทรุดโทรมลงได้ ผู้ป่วยเหล่านี้มีจุลินทรีย์บนผิวหนังที่เราพิสูจน์แล้วว่าสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการคันได้”
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมอนามัย
No tags for this post.
0 Comments