สะเก็ดเงิน มีอาการอย่างไร?
สะเก็ดเงิน มีอาการแสดงและความรุนแรงของโรคแตกต่างกันตามชนิด อวัยวะที่พบโรค ความรุนแรง ขนาด การกระจายตัวของโรค และความระยะเวลาการดำเนินโรค โดยทั่วไป สัญญาณและอาการของโรคสะเก็ดเงินคือผื่น หรือแผ่นผิวหนังอักเสบที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
- ผื่น หรือผิวหนังอักแสบก่อตัวเป็นแผ่นนูนหนา ขอบแผ่นชัดเจน อาจมีรูปทรงหยักโค้ง ผิวหนังด้านบนหลุดลอกออกเป็นขุย แต่เกล็ดผิวหนังด้านล่างจะเกาะติดกันแข็งเป็นแผ่นหนา
- ผื่น หรือแผ่นผิวหนังอักเสบหลายขนาด เล็ก-ใหญ่ไม่เท่ากัน ตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าหยอดน้ำ หรือขนาดใหญ่เท่าฝ่ามือ
- ผื่น หรือแผ่นผิวหนังอักเสบที่ทำให้สีผิวเปลี่ยนสี เช่น ผื่นสีม่วง ตกสะเก็ดเป็นขุยสีขาว ผื่นสีแดงหรือชมพู ตกสะเก็ดเป็นขุยสีเงิน
- ผื่น หรือแผ่นผิวหนังอักเสบที่ทำให้ผิวแห้ง แตก คัน แสบร้อนบริเวณผิวหนัง
- ผื่น หรือแผ่นผิวหนังอักเสบที่หากเกา อาจทำให้เกิดแผลฉีกขาด และมีเลือดไหล
- ผื่น หรือแผ่นผิวหนังอักเสบที่มีอาการเจ็บแสบอย่างรุนแรง ปวดบวม และมีไข้ร่วม
- ผื่น หรือแผ่นผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ที่เป็น ๆ หาย ๆ 2 – 3 สัปดาห์จนถึงหลายเดือน อาการจึงค่อยทุเลาลงแล้วกลับมาเป็นใหม่
การวินิจฉัยสะเก็ดเงิน มีวิธีการอย่างไร?
แพทย์ผิวหนังจะทำการวินิจฉัยสะเก็ดเงินโดยการซักประวัติ และตรวจสภาพผิวภายนอกรวมทั้งหนังศีรษะ หรือเล็บเพื่อประเมินอาการและหารอยโรค รวมถึงประเมินความรุนแรงของโรค โดนแพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
- การซักประวัติ (Medical history) เช่น การสังเกตเห็นผื่นหรือตุ่มแดงขึ้นเมื่อใด อาการคันหรืออาการแสบร้อนบนผิวหนังเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใด ผิวหนังลอกหรือตกสะเก็ดมากน้อยเพียงใด อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นล่าสุด ยาที่ทานเป็นประจำหรือเพิ่งเลิกทาน สบู่หรือแชมพูที่ใช้เป็นประจำ ประวัติบุคคลในครอบครัวเดียวกันเคยเป็นโรคสะเก็ดเงินมาก่อนหรือไม่ ความเครียด การพักผ่อน รวมถึงปัจจัยอื่นที่อาจก่อให้เกิดโรค
- การตรวจร่างกาย (Physical examination) แพทย์จะบันทึกตำแหน่ง ขนาด ลักษณะของผื่น และลักษณะของขุยสะเก็ดเงินที่ลอกออกบนผิวหนัง
- การตัดชิ้นเนื้อผิวหนัง (Skin biopsy) แพทย์ผิวหนังจะทำการเก็บตัวอย่างผื่นสะเก็ดเงินเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาในห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยและยืนยันโรค โดยแพทย์จะทำการตัดผิวหนังบริเวณตุ่มหรือผื่นคัน หรือบริเวณแผลเรื้อรัง รวมทั้งผิวหนังที่มีสีผิวผิดปกติ หรือสะเก็ดผิวหนังที่หลุดลอก และทำการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อแยกโรค และระบุชนิดของสะเก็ดเงิน
การป้องกันสะเก็ดเงิน มีวิธีการอย่างไร?
สะเก็ดเงินเป็นโรคที่ยังไม่พบวิธีป้องกัน การหมั่นดูแลสุขภาพร่างกาย สุขภาพผิว การพักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคสะเก็ดเงินได้ โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้
- ใช้มอยเจอร์ไรเซอร์ หรือครีมบำรุงผิวทาผิวเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวแห้งเสีย
- หมั่นทำความสะอาดผิวเป็นประจำ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอากาศแห้งและเย็น
- หลีกเลี่ยงยาที่อาจกระตุ้นการเกิดโรคสะเก็ดเงิน
- ป้องกันผิวไม่ให้มีบาดแผล ที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อได้
- รับแสงแดดพอประมาณ ไม่มากเกินไป
- พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด
แนะนำผลิตภัณฑ์
0 Comments