ความหมาย งูสวัด (Shingles)
งูสวัด (Shingles) คือโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับเชื้อที่เป็นสาเหตุของ โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) โดยลักษณะอาการเด่น ๆ จะเกิดรอยผื่นแดงและตุ่มน้ำ ร่วมกับอาการปวดแสบบริเวณที่เกิดอาการ
งูสวัด เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักจะเกิดกับผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ และหากผู้ป่วยได้รับการดูแลจากแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะยิ่งลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้
อาการของงูสวัด
อาการของงูสวัดมีหลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นอาการทางผิวหนัง โดยในระยะฟักตัวของเชื้อ ผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็น โดยทั่วไปอาการหลักของโรคงูสวัดจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
ระยะก่อนเกิดผื่นงูสวัด (Prodromal Stage)
อาการในช่วงนี้มักเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดอาการทางผิวหนังหลายวันหรือหลายสัปดาห์ ผู้ป่วยมักรู้สึกปวด แสบ และชาผิวหนังฝั่งใดฝั่งหนึ่งของร่างกาย รวมถึงอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดและบวมที่ต่อมน้ำเหลือง ไม่สบายเนื้อสบายตัวบริเวณหน้าอก หลัง ศีรษะ หน้าท้อง ใบหน้า คอ หรือแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง
ระยะมีผื่นงูสวัด (Active Stage)
ผู้ป่วยจะพบผื่นแดงและตุ่มน้ำบริเวณที่เคยมีอาการปวด รู้สึกปวดแสบหรือรู้สึกคล้ายเข็มทิ่มที่ผื่น หากเกิดอาการที่หน้าหรือดวงตา อาจมีผื่นที่หน้าผาก แก้ม จมูก หรือเกิดแผลรอบดวงตาและกระจกตาที่จะรบกวนการมองเห็นของผู้ป่วยได้
หลังจากที่เริ่มเกิดอาการทางผิวหนัง ตุ่มน้ำที่เกิดขึ้นอาจแตก ตกสะเก็ด และหายไปในเวลา 2–4 สัปดาห์ โดยอาจมีแผลเป็นหลงเหลือไว้ ซึ่งหลังจากแผลหายสนิทแล้ว ผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดปลายประสาท ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยโรคงูสวัด
ทั้งนี้ โรคงูสวัดมักไม่ส่งผลกระทบอันตรายต่อชีวิตของผู้ที่ป่วย แต่ก็มักส่งผลให้ผู้ที่ป่วยเกิดอาการเจ็บปวดรุนแรงได้ ผู้ที่มีอาการเข้าข่ายโรคงูสวัดควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและการรักษา โดยเฉพาะผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีอาการบริเวณใกล้ดวงตา ผู้ที่คนในครอบครัวมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และผู้ที่พบว่าอาการมีความรุนแรง
EAZI Astrinz Gel อีซี่ แอสทริ๊งซ์ เจล ผลิตภัณฑ์ดูแลสมานผิวรักษา เริม งูสวัด ไฟลามทุ่ง ลดอาการแสบร้อนผิว เจ็บและปวด คันตุ่ม ผลิตจากสารธรรมชาติ ไม่มีสเตียรอยด์ ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
สาเหตุของงูสวัด
งูสวัดเกิดจากการติด เชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus: VZV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับที่ก่อให้เกิด โรคอีสุกอีใส โดยเชื้อดังกล่าวจะยังคงอยู่ในร่างกายบริเวณปมประสาทหลังจากป่วยด้วย โรคอีสุกอีใส ซึ่งหากร่างกายอ่อนแอลงจนระดับภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เชื้อดังกล่าวก็อาจกลับมาเป็นอีกครั้งจนกลายเป็นงูสวัดได้
การติดต่อของโรคจะเกิดขึ้นจากการสัมผัสกับเชื้อโดยตรงจากแผลที่เปิด หรือของเหลวจากตุ่มน้ำของผู้ที่เป็นงูสวัด แต่ผู้ที่สัมผัสเชื้อจะไม่เป็นงูสวัดหากไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน แต่จะเป็นโรคอีสุกอีใสแทน ทั้งนี้ โรคงูสวัดมักจะเกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่ใช้การรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ และผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังรักษาด้วยเคมีบำบัด
การวินิจฉัยงูสวัด
หากเคยเป็น โรคอีสุกอีใส มาก่อนก็สามารถสังเกตอาการในเบื้องต้นได้ โดยมักจะมีผื่นขึ้นที่ผิวหนังพร้อมด้วยอาการปวดและแสบร้อนที่บริเวณผื่นที่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งของร่างกาย ร่วมกับอาการไข้ ไม่สบายเนื้อสบายตัว ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยอาการอีกครั้งหนึ่ง
แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคงูสวัดได้ชัดเจนจากอาการและลักษณะทางผิวหนัง แต่หากผู้ป่วยไม่มีผื่นหรือตุ่มน้ำขึ้นตามผิวหนัง การวินิจฉัยจะเป็นไปได้ยากมากขึ้น เนื่องจากอาการของงูสวัดอาจทำให้เกิดความสับสนกับ โรคเริม บางครั้งก็คล้ายกับโรคติดเชื้อที่ผิวหนัง ผื่นผิวหนังอักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย และผื่นแพ้ยาอีกด้วย
อีกทั้งจะยิ่งวินิจฉัยอาการได้ยากหากโรคงูสวัดเกิดในคนที่มีความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เพราะอาการที่แสดงออกไม่ตรงไปตรงมา ทำให้แพทย์อาจต้องใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการร่วมในการวินิจฉัยด้วย เช่น
- วิธี Tzanck smears เป็นวิธีการตรวจจากรอยผื่นด้วยการเจาะตุ่มน้ำแล้วขูดเซลล์บริเวณฐานของตุ่มน้ำไปตรวจ แต่วิธีนี้จะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นงูสวัดหรือเป็นแค่เพียงการติดเชื้อเริม
- การย้อมด้วยสีฟลูออเรสเซนต์ (Direct Fluorescent Antibody) เป็นการเก็บตัวอย่างจากผิวหนังบริเวณที่เป็นตุ่มไปย้อมสีเพื่อหาแอนติเจน (Antigen) หรือเชื้อไวรัส
- วิธีปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (Polymerase Chain Reaction: PCR) เป็นการตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อ โดยวิธีนี้จะตรวจได้ในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ บางแห่งเท่านั้น
- การตรวจหาภูมิคุ้มกัน (Serologic Methods) เป็นวิธีที่แพทย์มักใช้การตรวจภูมิคุ้มกันที่มีต่อเชื้อไวรัส หากพบก็จะทำให้วินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคงูสวัด
หากแพทย์ค่อนข้างมั่นใจแล้วว่าเป็นงูสวัด แพทย์จะรักษาผู้ป่วยทันทีโดยไม่รอผลตรวจ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
การรักษางูสวัด
แพทย์จะรักษาโรคงูสวัดตามอาการ ร่วมกับใช้ยาต้านไวรัสเพื่อเร่งกระบวนการการหายของโรคและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยยาที่แพทย์นิยมใช้ ได้แก่ ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) และแฟมไซโคลเวียร์ (Famciclovir)
นอกจากนี้ งูสวัดยังก่อให้เกิดอาการปวดที่รุนแรง แพทย์จึงอาจสั่งยาเพื่อบรรเทาอาการชนิดอื่นร่วมด้วย เช่น
- ยาพาราเซตามอล
- ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
- ครีมแคปไซซิน (Capsaicin Cream)
- ยาในกลุ่มต้านอาการชัก เช่น กาบาเพนติน (Gabapentin)
- ยาต้านอาการซึมเศร้า เช่น อะมิทริปไทลิน (Amitriptyline)
- ยาในกลุ่มยาชา เช่น ลิโดเคน (Lidocaine) ซึ่งเป็นยาชนิดทา มีทั้งรูปแบบเจล และครีม
- ยาโคเดอีน (Codeine)
สำหรับสตรีมีครรภ์ โรคงูสวัดในหญิงตั้งครรภ์จะไม่ส่งผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่แพทย์จะพิจารณาเรื่องการใช้ยาในกรณีที่จำเป็นเป็นกรณีไป ส่วนงูสวัดในเด็ก บางกรณีอาจไม่ต้องรักษาเพราะมีแนวโน้มที่จะมีอาการไม่รุนแรงและมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย ยกเว้นกรณีบางกรณีที่อาจต้องใช้การรักษาเข้าช่วย ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เช่น เด็กที่มีภูมิคุ้มกันต่ำอาจต้องใช้ยาต้านไวรัส
โดยทั่วไปอาการมักหายจนผิวหนังกลับมาเป็นปกติในระยะเวลา 2–6 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นงูสวัดเพียงครั้งเดียว แต่บางรายอาจกลับมาเป็นซ้ำได้หลายครั้ง ขึ้นอยู่กับระดับภูมิคุ้มกันของร่างกาย
EAZI Astrinz Gel อีซี่ แอสทริ๊งซ์ เจล ผลิตภัณฑ์ดูแลสมานผิวรักษา เริม งูสวัด ไฟลามทุ่ง ลดอาการแสบร้อนผิว เจ็บและปวด คันตุ่ม ผลิตจากสารธรรมชาติ ไม่มีสเตียรอยด์ ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ภาวะแทรกซ้อนของงูสวัด
ภาวะแทรกซ้อนของงูสวัดมักเกิดขึ้นได้ เนื่องจากผู้ป่วยอยู่ในช่วงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ และภาวะแทรกซ้อนบางอย่างอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตหากได้รับการรักษาที่ล่าช้า แต่มักพบได้น้อย
โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยโรคงูสวัด ได้แก่
อาการปวดปลายประสาทหลังจากเป็นงูสวัด (Postherpetic Neuralgia)
เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะผู้ป่วยอายุ 50 ขึ้นไป ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดแสบเหมือนโดนเข็มตำบริเวณที่เคยเป็นงูสวัด ผิวหนังมักไวต่อการสัมผัส ทำให้รู้สึกเจ็บหรือปวดได้ง่าย และอาการอาจกำเริบเมื่ออากาศเกิดเปลี่ยนแปลง อาการนี้มักจะหายในระยะเวลา 3–6 เดือน แต่บางรายก็อาจกินเวลาหลายปีหรือเป็นต่อเนื่องไปตลอดได้
ปัญหาเกี่ยวกับดวงตา
หากเชื้องูสวัดกระจายไปที่บริเวณดวงตาก็อาจก่อให้เกิดปัญหาอาการปวดตาจากแผลในกระจกตา การติดเชื้อที่เส้นประสาทตา บางรายอาจมีปัญหาต้อหิน ซึ่งอาจส่งผลต่อการมองเห็นได้
โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม (Ramsay Hunt Syndrome)
โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม เป็นโรคที่เกิดจากการที่เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเส้นประสาทสมอง ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปวดหู การได้ยินลดลง เวียนหัว บ้านหมุน ได้ยินเสียงหึ่ง ๆ เกิดตุ่มน้ำภายในหู เสียการรับรู้รสชาติอาหาร ใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งเบี้ยว ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการ
การติดเชื้อที่ผิวหนังและอวัยวะภายใน
ผู้ป่วยอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังหากตุ่มน้ำบนผิวหนังแตกและไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ และอาจเสี่ยงต่อการอักเสบที่อวัยวะต่าง ๆ จากการที่เส้นประสาทในอวัยวะติดเชื้อไวรัส โดยอาการอักเสบที่อันตรายอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนงูสวัด เช่น ปอดอักเสบ ตับอักเสบ ไข้สมองอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ รวมถึงเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่อาจเกิดได้น้อยมาก
การป้องกันงูสวัด
โรคงูสวัดสามารถป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแผลงูสวัดของผู้อื่น ส่วนผู้ที่เคยเป็น โรคอีสุกอีใส มาก่อนให้ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเสมอ เพื่อไม่ให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำจนทำให้เชื้อกำเริบได้ นอกจากนี้ การใช้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคก็สามารถทำได้ โดยในปัจจุบันมีวัคซีนที่ใช้เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ 2 ประเภท ได้แก่
วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
วัคซีนโรคอีสุกอีใสเป็นวัคซีนที่สามารถฉีดให้กับเด็กได้ โดยเข็มแรกจะฉีดเมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป และเข็มที่ 2 จะฉีดเมื่ออายุ 4–6 ปี โดยวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส มีทั้งวัคซีนชนิดเดี่ยวและวัคซีนรวม ซึ่งในประเทศไทยวัคซีนนี้สามารถฉีดเพิ่มให้เด็กได้โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ส่วนผู้ใหญ่สามารถฉีดได้เฉพาะกรณีที่ไม่เคยป่วยด้วยโรคอีสุกอีใสมาก่อนเท่านั้น
วัคซีนชนิดนี้สามารถป้องกันโรคอีสุกอีใสได้ตลอดชีวิต โดยประสิทธิภาพในการป้องกันจะอยู่ที่ประมาณ 90% แต่หากได้รับการฉีดตั้งแต่อายุ 1–12 ปี ประสิทธิภาพของวัคซีนเข็มแรกจะสามารถป้องกันโรคได้ 85% และประสิทธิภาพของวัคซีนจะเพิ่มขึ้นไปถึง 88–98% เมื่อได้รับวัคซีนเข็มที่ 2
ทั้งนี้ ถ้าเด็กที่อายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป จะต้องฉีดวัคซีนทั้ง 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 4–8 สัปดาห์ จึงจะได้ประสิทธิภาพที่ดี แต่การได้รับวัคซีนหลังจากสัมผัสเชื้อไม่สามารถป้องกันได้เต็มร้อย และอาจเกิดผลข้างเคียงทั่วไป เช่น เป็นผื่น ปวดแขนบริเวณที่ฉีดวัคซีน มีไข้ ปวดบริเวณข้อต่อ ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่ได้รับวัคซีน
วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด
วัคซีนงูสวัดเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็นที่ใช้กับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป โดยวัคซีนนี้สามารถให้ได้กับผู้ที่เคยหรือไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน แต่วัคซีนชนิดนี้ไม่สามารถใช้กับบุคคลบางกลุ่มได้ ได้แก่
- ผู้มีประวัติในการแพ้เจลาติน ยานีโอมัยซิน (Neomycin) หรือแพ้ส่วนผสมต่าง ๆ ของวัคซีน
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือกำลังรับการรักษาด้วยยาบางชนิดที่กดภูมิคุ้มกัน
- ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีรังสีรักษาหรือเคมีบำบัด หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับไขกระดูกและระบบน้ำเหลือง
หากผู้ที่รับวัคซีนต้องการตั้งครรภ์ ควรชะลอการตั้งครรภ์ไปช่วงหลังจากรับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 4 สัปดาห์ รวมทั้งผู้ที่มีอาการป่วยอื่น ๆ หรือเป็นไข้ ควรรักษาให้หายเป็นปกติก่อนแล้วจึงค่อยรับวัคซีน และแม้วัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้จะเป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อชนิดเดียวกัน แต่ก็ไม่สามารถใช้แทนกันได้ เนื่องจากปริมาณเชื้อในวัคซีนแตกต่างกัน
ทั้งนี้ นอกจากวัคซีนในข้างต้น ยังมีวัคซีนชนิด Recombinant (Recombinant Vaccine) ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันงูสวัดที่อาจเริ่มใช้ในอนาคต โดยวัคซีนชนิดนี้จะใช้ในผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และผู้ที่อายุ 19 ปีขึ้นไปที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอที่มีสาเหตุมาจากโรคหรือการรักษาบางชนิด
EAZI Astrinz Gel อีซี่ แอสทริ๊งซ์ เจล ผลิตภัณฑ์ดูแลสมานผิวรักษา เริม งูสวัด ไฟลามทุ่ง ลดอาการแสบร้อนผิว เจ็บและปวด คันตุ่ม ผลิตจากสารธรรมชาติ ไม่มีสเตียรอยด์ ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยงูสวัด
นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องดูแลตัวเองให้มากขึ้นในช่วงที่ป่วยด้วยโรคงูสวัดตามคำแนะนำต่อไปนี้
- รักษาความสะอาดผื่นและตุ่มน้ำ โดยให้บริเวณดังกล่าวแห้งให้มากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อบริเวณที่เกิดตุ่มน้ำ
- สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เพื่อลดความรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว
- ไม่ปิดบริเวณแผลด้วยพลาสเตอร์หรือทายาที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ เพราะจะทำให้หายช้าลง
- สวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น แต่ควรระวังไม่ให้เนื้อผ้าเสียดสีกับแผลมากเกินไป
- หากมีอาการคัน สามารถใช้ยาคาลาไมน์บรรเทาอาการได้
- ไม่ใช้เสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่น เพราะเชื้ออาจแพร่กระจายได้
- หลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน เนื่องจากขณะที่ป่วย เชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายสู่ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อได้ง่าย (ผู้ที่ไม่เคยป่วยเป็นอีสุกอีใส หรือผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนอีสุกอีใสมาก่อน) ดังนั้นผู้ป่วยควรรักษาตัวอยู่ที่บ้านจนกว่าแผลจะหายดี
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้เด็กเล็ก เพราะอาจทำให้เด็กติดเชื้อและป่วยเป็นอีสุกอีใส
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับหญิงตั้งครรภ์ เพราะหญิงตั้งครรภ์อาจได้รับเชื้อและป่วยเป็นอีสุกอีใสระหว่างตั้งครรภ์
- หลีกเลี่ยงการแกะ แคะ เกา แผลที่เกิดจากงูสวัด เพราะจะทำให้แผลหายช้าและยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มเติมด้วย
- หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าหนาๆ เพื่อป้องกันการเสียดสีระหว่างผิวหนังที่เป็นผื่นกับเสื้อผ้า เพราะจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดมากขึ้น
- ไม่ควรฉีดพ่น หรือทายาใดๆ ที่ไม่ได้รับการรับรองจากแพทย์ลงบนผื่นตุ่มน้ำงูสวัด เช่น หญ้า สมุนไพรหรือยาสีฟัน เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงยิ่งขึ้น
- หากมีอาการแสบร้อนผื่นงูสวัด ควรประคบรอยผิวหนังด้วยน้ำเกลือสะอาดนานครั้งละ 10 นาที วันละ 3-4 ครั้ง
- หากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาพาราเซตามอลได้ ทั้งนี้ควรปฏิบัติตัวตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อให้อาการบรรเทาลงโดยเร็วที่สุด
เป็นที่ทราบกันดีว่า การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ถูกวิธีเป็นส่วนสำคัญที่จะเสริมภูมิคุ้มกัน รวมถึงเสริมระบบการทำงานต่างๆ ทุกระบบในร่างกายให้มีประสิทธิภาพ สามารถต่อสู้ และขจัดเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมต่างๆ ได้
ดังนั้นหากคุณเจ็บป่วยเป็นโรคใดก็ตาม การปรับเปลี่ยนเมนูอาหารเพื่อเสริมความแข็งแรงให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงเป็นยาที่สำคัญอีกประเภทไม่แพ้ยารับประทาน หรือยาฉีดที่ได้รับจากแพทย์ และยังสามารถช่วยบรรเทาอาการป่วยได้
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างเป็นโรคงูสวัด
อาหารที่ผู้ป่วยโรคงูสวัดควรหลีกเลี่ยงในระหว่างรักษาโรคให้ดีขึ้น มีดังต่อไปนี้
อาหารที่มีสารอาร์จีนีนมาก
สารอาร์จีนิน (Arginine) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งซึ่งมีส่วนทำให้เซลล์เชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus: VZV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสซึ่งทำให้เกิดโรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใสแบ่งตัว และลุกลามออกไปมากขึ้น
โดยอาหารที่พบสารอาร์จีนีนในปริมาณมาก ได้แก่ ช็อกโกแลต, ถั่ว เมล็ดพืช, องุ่น, จมูกข้าวสาลี, กะหล่ำปลีเล็ก, บลูเบอร์รี, ทูน่ากระป๋อง, เจลาติน, มะเขือเทศ
อาหารที่มีน้ำตาลสูง
ในระหว่างรักษาโรคงูสวัด ให้หลีกเลี่ยงอาหาร เครื่องดื่ม รวมถึงขนมที่มีน้ำตาลสูง เนื่องจาก น้ำตาล เป็นสารอาหารที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมสภาพลงมากกว่าเดิม อีกทั้งยังไปยับยั้งการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการขจัดเชื้อไวรัสให้ออกไปจากร่างกายอีกด้วย
คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี
คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี (Refined Carbohydrates) มีส่วนทำให้ดัชนีมวลน้ำตาลในร่างกายคุณสูงขึ้น ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานรวดเร็วกว่าเดิม ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายมีพลังงานไปขับเคลื่อนภูมิคุ้มกันร่างกายไม่มากพอ
ตัวอย่างอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตซึ่งผ่านการขัดสี และควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ขนมปังขาว, ข้าวขาว, มักกะโรนี, เส้นพาสต้า, ซีเรียลอาหารเช้า, มันฝรั่งขาว
อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง
เพราะอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงยังมีแต่ไปสร้างไขมันส่วนเกินอันเป็นตัวการก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานคือ อีกกลุ่มผู้ป่วยที่มักมีอาการของโรคงูสวัดร้ายแรงกว่าปกติ
อีกทั้งการรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หรือไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณที่เหมาะสมแทน จะช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงขึ้น และควบคุมเชื้อไวรัส VZV ไม่ให้แพร่กระจายมากเกินไปจนเกิดเป็นโรคงูสวัดได้
โดยตัวอย่างอาหารมีไขมันอิ่มตัวสูงที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมัน, ขนมปังที่มีเนย นม ครีม ชีส น้ำตาลสูง, อาหารทอด, ซุปครีม, แฮมเบอร์เกอร์, พิซซ่า, ไอศกรีม
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แอลกออฮอล์เป็นตัวขัดขวางการฟื้นตัวของร่างกายขณะรักษาโรคงูสวัด และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานช้าลง ทำให้อาการของโรคหายช้า
นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังไปรบกวนไมโครไบโอม (Mocrobiome) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีซึ่งมีส่วนช่วยให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น
ทั้งยังไปทำลายเซลล์เนื้อเยื่อบุ (the epithelial cells) ซึ่งมีหน้าที่เรียบเรียงเซลล์ทีเฮลเปอร์ (T helper cell) ซึ่งเป็นเซลล์ในเม็ดเลือดขาวชนิดนึ่ง และเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล (Neutrophil) ทำให้การป้องกันเชื้อไวรัสของร่างกายอ่อนแอลง
อาหารเสริมภูมิต้านทานขณะรักษาโรคงูสวัด
อาหารช่วยเสริมภูมิต้านทานให้มีประสิทธิภาพในการต่อสู้เชื้อโรคมากขึ้น ได้แก่
- อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ เช่น พริกหยวกแดง ไข่ ผักโขม ผักบุ้ง มันฝรั่ง ฟักทอง
- อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 12 เช่น เนื้อปลา นม ตับ ไข่ ซีเรียลธัญพืช
- อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น ส้ม สัปปะรด มะละกอ
- อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันจมูกข้าวสาลี เมล็ดข้าวโพด มันเทศ ส้มโอ
- อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุสังกะสี เช่น เมล็ดทานตะวัน ข้าวกล้อง เนื้อสัตว์
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรระมัดระวังเรื่องการแพ้อาหารด้วย หรือหากคุณเป็นผู้ป่วยโรคงูสวัดที่มีโรคอื่นๆ แทรกซ้อนอยู่ด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ให้ปรึกษาแพทย์ว่า ควรรับประทานอาหารประเภทไหนเพื่อรักษาโรคงูสวัดให้หายเร็วยิ่งขึ้น
หากไม่แน่ใจว่า มีภาวะแพ้อาหาร หรือมีภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงหรือไม่ ผู้ป่วยอาจลองสังเกตการรับประทานอาหารแต่ละชนิดของตัวเอง ซึ่งหากรับประทานอาหารชนิดไหนแล้วมีอาการผื่นขึ้น หายใจลำบาก ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย เป็นประจำ อาจพิจารณาตรวจภูมิแพ้อาหาร หรือตรวจภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงดู เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ตนเองแพ้
มีเรื่องที่อยากอ่านเยอะมาก เนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ
ขอบคุณมาก