โรคผิวหนังแข็ง ภัยเรื้อรังทางผิว เจอด่างขาวให้ระวัง เสี่ยงสูงในเพศหญิง
เช็กอาการ โรคผิวหนังแข็ง ใครมีด่างขาวสังเกตให้ดี สาเหตุโรคนี้เกิดจากอะไร การดูแลหลังเป็นโรคควรทำอย่างไร ผู้หญิงต้องอ่าน เสี่ยงสูงกว่าผู้ชาย
ชวนรู้จัก โรคผิวหนังแข็ง (Scleroderma) โรคหนึ่งในกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานที่ผิดปกติของภูมิคุ้มกัน และภูมิต่อต้านตนเอง โรคที่ยังไม่สามารถระบุที่มาของการเกิดได้อย่างชัดเจนนี้มีอาการอย่างไร รวมถึงการป้องกันและการรักษาทำได้อย่างไรบ้าง ไปติดตามพร้อมกันเลย
โรคผิวหนังแข็ง มีอาการอย่างไร
โรคผิวหนังแข็ง หรือ โรคสเคลอโรเดอร์มา (Scleroderma) ถือเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อที่พบได้น้อย สาเหตุของการเกิดโรคนั้นยังไม่ทราบชัดเจนว่าเกิดจากอะไรกันแน่ โรคนี้มีโอกาสพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุประมาณ 30 – 50 ปี
มีความเป็นไปได้ว่าโรคผิวหนังแข็ง อาจเกิดจากภูมิแพ้ตนเอง หรือภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ บวมตึงและร้อน จนสร้างเนื้อเยื่อพังผืดมากผิดปกติ
โดยโรคผิวหนังแข็งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โรคผิวหนังแข็งเฉพาะที่ (Localized scleroderma) และโรคผิวหนังแข็งบริเวณกว้าง หรือชนิดซิสเต็มมิก (Systemic sclerosis)
ความแตกต่างของ 2 ประเภทนี้คือ ผู้ป่วยโรคผิวหนังชนิดซิสเต็มมิกจะมีอาการรุนแรงกว่าและอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากเกิดความผิดปกติร่วมกับอวัยวะอื่น ๆ ภายใน เช่น หัวใจ ปอด ไต เป็นต้น
อาการของโรคผิวหนังแข็ง
อาการของโรคที่สังเกตได้ชัดเจนเป็นอันดับแรก คือ มีอาการบวมตึงบริเวณผิวหนัง ต่อมาผิวหนังจะเริ่มแข็งขึ้น มีอาการคัน สีผิวบริเวณนั้นเข้มขึ้น อาจส่งผลให้อ้าปากกว้างหรืองอและเหยียดนิ้วได้ไม่เต็มที่ ไปจนถึงเกิดรอยด่างขาวบนผิวหนัง
หากอาการรุนแรงมากขึ้น อาจส่งผลให้เกิดแผล ผิวเป็นหลุม เกิดก้อนหินปูนใต้ชั้นผิวหนัง เนื้อเยื่อตาย ปวดข้อ นิ้วมือนิ้วเท้าซีดง่ายเมื่อสัมผัสอากาศเย็น (Raynaud’s phenomenon) มีอาการอ่อนล้าหรือกล้าเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย หรือรุนแรงถึงขั้นอวัยวะงอผิดรูป
หากเกิดอาการผิวหนังแข็งที่ปอด หลอดอาหาร หรือลำไส้เล็ก จะส่งผลให้ผู้ป่วยกลืนลำบาก เหนื่อง่าย ความดันสูง เจ็บหน้าอก หน้ามืด เป็นต้น
วิธีรักษาหลังมีอาการโรคผิวหนังแข็ง
สำหรับเป้าหมายในการรักษาโรคผิวหนังแข็ง คือต้องหยุดการอักเสบของผิวหนังที่แข็งให้เร็วที่สุด โดยสามารถทำได้หลากหลายวิธี ได้แก่
- การใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์
- การใช้กลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์
- ไม่ใช้ยาและปล่อยให้หายเอง
โดยการรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย บางรายอาจหายได้เองแต่ต้องใช้เวลานานหลายปี หรือบางรายอาจมีอาการต่อเนื่องและรุนแรงช่วงที่ผิวหนังกลับมาอักเสบอีก
ดูแลร่างกายอย่างไรหากเป็นโรคผิวหนังแข็ง
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการผิวหนังแข็ง ต้องพึงระลึกไว้เสมอว่าอาการของโรคอาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติบริเวณข้อต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติที่เห็นได้ชัดบริเวณผิวหนัง ดังนั้นผู้ป่วยโรคนี้จึงควรดูแลร่างกาย ดังนี้
- ยืดเหยียด หรือนวดคลึงข้อต่อเป็นประจำ เพื่อให้เนื้อเยื่อคลายตัว
- หากมีอาการเดินกะเผลก ลงน้ำหนักขาได้ไม่เท่ากัน ควรใช้พื้นเสริมรองเท้าหรือใช้เครื่องช่วยพยุง เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับข้อเข่าหรือสะโพก
- ทาครีมหรือมอยเจอร์ไรเซอร์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังที่อักเสบ
- หลีกเลี่ยงการทำงานที่เสี่ยงให้เกิดแผลบริเวณปลายนิ้ว เพราะแผลจะหายช้าและเกิดการติดเชื้อได้
หลังจากผู้ป่วยหายขาดจากอาการผิวหนังแข็ง ผิวหนังที่เกิดการอักเสบมักจะมีความนุ่มลง เหลือแต่ปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอเท่านั้น
โรคผิวหนังแข็งป้องกันได้อย่างไร
ปัจจุบันยังไม่มีการป้องกันโรคผิวหนังที่แน่นอน เนื่องจากยังไม่สามารถระบุสาเหตุการเกิดได้อย่างแน่ชัด
เนื้อหามีประโยชน์มาก ขอบคุณ