“Emulsifier free” ดีกว่าอย่างไร?
“Emulsifier free” ดีกว่าอย่างไร!!!!!!!! ถ้าพูดถึงผลิตภัณฑ์กลุ่มที่อ้างกันว่าใช้แล้วมีโอกาสแพ้น้อย( hypoallergenic) เราคงต้องยอมรับว่าผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติ Dual hypoallergenic ย่อมเหนือกว่า hypoallergenic ทั่วๆไปอย่างแน่นอน เพราะมันเข้ากับกฎของ CTFA (Cosmetic ,Toiletry and Fragnance Association) มากกว่าผลิตภัณฑ์ hypoallergenic ทั่วๆไปถึง 2 ข้อ
“Emulsifier free” ดีกว่าอย่างไร!!!!!!!!
ถ้าพูดถึงผลิตภัณฑ์กลุ่มที่อ้างกันว่าใช้แล้วมีโอกาสแพ้น้อย( hypoallergenic) เราคงต้องยอมรับว่าผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติ Dual hypoallergenic ย่อมเหนือกว่า hypoallergenic ทั่วๆไปอย่างแน่นอน เพราะมันเข้ากับกฎของ CTFA (Cosmetic ,Toiletry and Fragnance Association) มากกว่าผลิตภัณฑ์ hypoallergenic ทั่วๆไปถึง 2 ข้อ
CTFA นั้นก็เป็นสถาบันที่ทั่วโลกให้การยอมรับว่า คำนิยาม hypoallergenic ของ CTFA นั้นดีที่สุดในโลก และ 2 ข้อสำคัญที่CTFA ได้นิยามไว้ก็คือก็คือผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่า hypoallergenic นั้นต้องมีคุณสมบัติ “Emulsifier free”(ไม่มี emulsifier เป็นส่วนประกอบ )และ “nickel block” (ไม่ละลายโลหะนิเกิล)
บทความนี้จะกล่าวเฉพาะ Emulsifier free ก่อน สำหรับ nickel block จะกล่าวในลำดับต่อไปในโอกาสหน้า
PAN Dermacare แพนเดอร์มาแคร์ ผลิตภัณฑ์เพื่อดุลยภาพแห่งผิว สำหรับผิวบอบบางแพ้ง่าย และทุกสภาพผิว
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจในคุณสมบัติของครีมกันก่อน ครีมที่เราเห็นและใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ในทางวิทยาศาสตร์นั้นจัดเป็น“อีมัลชั่น”Emulsion อย่างหนึ่ง ซึ่งอีมัลชั่นก็คือการนำของเหลว 2 ชนิดที่ไม่สามารถจะละลายกันได้เลย เช่น น้ำกับน้ำมัน นำมาผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันจนเหมือนมันละลายกันได้ (แต่จริงๆไม่ได้ละลาย) กระบวนการที่ทำให้มันรวมกันเป็นเนื้อเดียวกันนี้เราเรียกว่า อีมัลซิฟิเคชั่น (Emulsification)
ของเหลว 2 ขนิดที่ไม่ละลายกันนี้ เมื่ออยู่มีรูป emulsion ตัวหนึ่งจะฟอร์มเป็นตัวเป็นเม็ดเล็กๆกระจายในของเหลวอีกชนิด เราจึงมักเห็นว่าส่วนใหญ่แล้ว Emulsion จะขุ่น นั่นก็เพราะเม็ดเล็กๆที่กระจัดกระจายอยู่ทำหน้าที่กระเจิงแสง(scatter)นั่นเอง
โดยทั่วไปแล้ว Emulsion ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง เพราะกระบวนการเกิดนั้นจะต้องใช้พลังงานและกรรมวิธีเพิเศษข้ามา เช่น ต้องคนอย่างแรง ต้องตีอย่างหนัก หรือเขย่านานๆให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ….หรือไม่ก็ด้วยกระบวนการทางสรีรวิยาของสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สร้างน้ำนม (ที่จัดเป็น emulsion อย่างหนึ่ง) เป็นต้น
ในชีวิตประจำวัน เราพบ emulsion กันบ่อยๆ โดยเฉพาะกับอาหารที่เราทานกัน เช่น เนย สำหรับเนยนั้น น้ำจะฟอร์มตัวอยู่ในรูปเม็ดเล็กๆ ในไขมัน เราเรียก Emulsion ลักษณะนี้ว่า water in oil …..ในทางตรงข้าม อีกลักษณะหนึ่งก็คือ oil in water นั่นก็หมายถึง Emulsion ลักษณะนี้ ไขมันจะ จะฟอร์มตัวอยู่ในรูปเม็ดเล็กๆแทรกอยู่ในน้ำนั่นเอง ตัวอย่างก็พวกน้ำนมที่เราทานกันทุกวันนั่นเอง
ด้วยความจริงที่ว่า Emulsion เป็นสิ่งที่ไม่เสถียร ทิ้งไว้สักพักก็จะกลับสู่สภาพเดิม เพราะเม็ดเล็กๆที่กระจัดกระจายอยู่จะค่อยๆรวมตัวจนมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถแยกชั้นกันออกมาได้ เพราะฉะนั้นเมื่อเวลาผ่านไปสักพัก emulsion จะคืนตัว มันก็กลับสู่สภาพเดิม โดยไขมันจะแยกขั้นออกจากน้ำ เห็นเป็นชั้นแยกจากกันชัดเจน ….และวิธีการแก้ไขเพื่อที่จะทำให้ emulsion มีความเสถึยรมากขึ้น เราจะเติมสารที่มีชื่อว่า Emulsifier เข้าไป ตัวemulsifierจะทำหน้าที่กันไม่ให้เม็ดๆเล็กๆเหล่านั้นมารวมตัวได้ง่าย emulsionจึงเสถียรมากขึ้น และคงสภาพอย่างนั้นได้นาน
มาถึงตอนนี้คุณผู้อ่านคงเข้าใจถึงกระบวนการการผลิตครีมหรือ emulsion กันพอสมควรแล้ว และก็เข้าใจหน้าที่ของ emulsifier แล้ว ว่ามันจำเป็นอย่างไรในการผลิตครีม
ข้อดีสำหรับ emulsifier สำหรับการผลิตครีมนั้นมีแน่นอน เพราะมันทำให้ครีม เสถียร สามารถคงสภาพได้นานจนส่งถึงมือผู้บริโภค แต่ข้อเสียมันก็มีเหมือนกัน ในทางการแพทย์เราพบว่า สารเติมเข้าไปในครีมเพื่อทำหน้าที่เป็น Emulsifier มีเปอร์เซ็นต์ไม่น้อยเลยที่สามารถก่อให้เกิดอัตราการแพ้สารสัมผัส (allergic contact dermatitis) ได้ เพราะฉะนั้น CTFA จึงมีข้อกำหนดว่า ผลิตภัณฑ์ที่อ้างสรรพคุณว่า hypoallergenic นั้น ไม่ควรที่จะใช้ emulsifier เป็นส่วนประกอบ
ทางแพนราชเทวีฯ ได้พัฒนาเทคนิคพิเศษขึ้นมาในการผลิตครีม ซึ่งจากเทคนิคนี้ทำให้สามารถผลิตครีมหรือ emulsion ได้เสถียรมากโดยไม่ต้องใช้ emulsifier เป็นตัวช่วย เลยแม้แต่น้อย จึงเกิดเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มที่เรียกได้ว่าเป็น emulsifier free ขึ้น เรียกผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ว่า PAN DERMACARE ทั้งหมดจึงเป็นที่ไปที่มาว่า Emulsifier free(ปราศจากสาร emulsifier) นั้นมันดีอย่างไร ทำไมผลิตภัณฑ์ PAN DERMACARE จึงประกาศตัวว่าเป็น Dual hypoallergenic ได้อย่างเต็มภาคภูมิ
เอาไว้คราวหน้าจะเขียนถึง nickel block ซึ่งเป็นอีกหนึ่งนิยามของ Dual hypoallergenic ให้ทราบต่อไป
0 Comments