โรคผื่นแพ้อักเสบเรื้อรัง (Atopic dermatitis) โรคผิวหนังเรื้อรังที่มักเป็นซ้ำๆ
การวินิจฉัยโรค สาเหตุ และ ตัวยารักษาที่ถูกต้อง
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ต้องพบเจอกับปัญหาผิวหน้าและผิวกาย เวลาเปลี่ยนเครื่องสำอางหรือใช้เครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจทำให้ผิวมีอาการระคายเคือง มีผื่นเล็กๆ แดงๆ ขึ้น แสบๆคันๆ น่ารำคาญอยู่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้คือ อาการของผื่นแพ้ของผิวหนังนั่นเอง
ผื่นแพ้ในเด็กเป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง อาการโดยทั่วไปทำให้ผู้ป่วยมีผื่นแดง คันไม่สบายตัว ผื่นแพ้ในเด็กมีหลายชนิดและสาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย
1. ผื่นภูมิแพ้ทางผิวหนัง เป็นผื่นแพ้เรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ปัจจุบันเชื่อว่าโรคน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน กรรมพันธุ์น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องเช่นมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น หอบหืด โรคแพ้อากาศหรือผื่นภูมิแพ้ทางผิวหนัง
2. คราบไขมันตามหนังศีรษะเด็ก หนังศีรษะที่มีคราบไขมันคล้ายรังแคติดอยู่เป็นผื่นแพ้อีกชนิดที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กๆ ถ้าเป็นมากอาจมีผื่นแดงบริเวณใบหน้า ซอกคอ รักแร้และในผ้าอ้อมได้ แต่เด็กจะไม่มีอาการคันหรือระคายเคือง
3. กลากน้ำนม เป็นโรคที่อาจเป็นอาการแสดงอย่างหนึ่งของผื่นแพ้ทางผิวหนัง หรือเกี่ยวกับผิวหนังแห้งหลังจากถูกแสงแดดจัดเป็นเวลานาน จะเห็นผื่นผิวหนังเป็นวงกลมหรือวงรี สีขาวจางกว่าผิวหนังปกติ อาจมีขุยบางๆ ติดอยู่โดยไม่มีอาการใดๆ พบได้บ่อยบริเวณใบหน้า
ปัจจัยที่ทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบ
1. แพ้จำพวกขนสัตว์ เส้นใยสังเคราะห์
2. เชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา อาจแทรกซ้อนทำให้เกิดการติดเชื้อบนผิวหนังของผู้ป่วย
3. การแพ้สารในผลไม้ & ผัก และในอาหาร เช่น สารแต่งรสในอาหารแปรรูป
4. น้ำหอม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด สบู่ ยาสระผม
5. เสื้อผ้าที่มีเนื้อหยาบ เสื้อผ้าอับชื้น หรือการสัมผัสกับสิ่งต่างๆ และฝุ่นละออง
6. ปัจจัยด้านพันธุกรรม
สาเหตุของการเกิด เกิดได้หลายสาเหตุ
โดยอาจเกิดจากการที่โครงสร้างผิวถูกทำลายจากการใช้เครื่องสำอางที่มีสารต้องห้าม หรือผิวหนังขาดความชุ่มชื้น หรือการเผชิญสภาพอากาศที่ส่งผลเสียต่อผิวหนังเป็นเวลานาน จนเกิดการอักเสบ จนภูมิคุ้มกันของผิวถูกทำลายลง
อะไรเป็นสาเหตุของผื่นผิวหนังอักเสบ?
1. กรรมพันธุ์ : ร้อยละ 50-70 ของผู้ที่เป็นผื่นผิวหนังอักเสบมีพ่อแม่ที่เป็นผื่นผิวหนังอักเสบ พบบ่อยในทารก เด็กโต คนหนุ่ม คนสาว หาสาเหตุที่แน่นอนไม่ได้ บางคนอาจแพ้อาหารหรือนม
อาการ จะขึ้นเป็นผื่นแดง อาจมีตุ่มน้ำปน มีอาการคันมาก มักพบเป็นบริเวณข้อพับ เช่น แขนพับ ข้อมือ ขาพับ ข้อเท้า รอบคอ
2. การเสียดสีกับเนื้อผ้าสังเคราะห์และขนสัตว์ จะทำให้เกิดการเสียดสี ความร้อน ความชื้น ผิวหนังมีเหงื่อออกมาก ทำให้เชื้อราและแบคทีเรียเจริญเติบโตได้
อาการทั่วไปมักพบเป็นผื่นคันตามจุดที่อับชื้น เช่น ผู้ที่ชอบที่สวมเสื้อแขนรัด จะเป็นผื่นที่รักแร้ ผู้ที่ชอบสวมกางเกงรัดๆ กางเกงยีนส์ จะเป็นผื่นที่บริเวณขาหนีบ
3. สารก่อภูมิแพ้ เช่น เกสรดอกไม้ ดอกไม้ต่างๆไรฝุ่น ฝุ่นละออง
สาเหตุมาจากปฏิกิริยาแพ้ของร่างกายในคนที่มีอาการแพ้ เกสรดอกไม้ ดอกไม้ เมื่อดมเข้าไปแล้ว ร่างกายจะตอบสนองผิดปกติ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการอาการแพ้ขึ้นได้ อาการมีผื่นคัน ผื่นลมพิษ อาจมีอาการผิวหนังอักเสบ
4. สบู่ แพ้ส่วนผสมของสบู่ เกิดการระคายเคือง เนื่องจากสารที่เป็นส่วนผสมของสบู่ มีน้ำหอม สารกันเสีย ทำให้เกิดผื่นแดงหรือผื่นคันที่เกิดขึ้นตามมา
5. น้ำยาปรับผ้านุ่ม แฟ้บ หรือน้ำยาปรับผ้านุ่มที่ใช้อาจมีส่วนผสมสารเคมี อาจทำมีอาการแพ้ ผื่นแดง และตุ่มแดงๆขึ้นหนักมาก
6. ความร้อนจากร่างกาย เหงื่อออกมากเกินไป มักจะเกิดกับผู้ที่มีความไวต่อสิ่งเร้ามาก โดยเฉพาะความไวอย่างผิดปกติต่อผิวหนัง ความชื้นและความเค็มของเหงื่ออาจจะเป็นตัวเร่งให้เกิดปฏิกิริยาบางอย่างกับผิวหนัง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดภาวะแพ้ได้ โดยอาการแพ้จะมาในรูปผื่นคัน หรืออาการแดงที่ผิวหนัง
7. น้ำหอม มักมีการใช้สารสังเคราะห์กลิ่นที่เลียนแบบจากธรรมชาติ และผสมสารเคมีที่ให้กลิ่นหอมเหล่านั้นในปริมาณมากเกินไป คนที่ใช้น้ำหอมเกิดการแพ้จากการสัมผัสสารเคมีเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น
อาการ มีผื่นแดงขึ้นกระจาย คัน ผื่นแดงจะบวม มีตุ่มน้ำใสๆเกิดขึ้น และอาจมีน้ำเหลืองร่วมด้วย
8. โรคต่างๆ โรคสะเก็ดเงิน โรคเซ็บเดิร์ม ก็มีส่วนอาจทำให้ผื่นแดงขึ้นได้ บริเวณหน้า รูหู ขาหนีบ เป็นต้น
วิธีการรักษา
1. ผื่นผิวหนังอักเสบอาจรักษาได้ยาก และอาจต้องการการรักษาที่แตกต่างกันตามระยะเวลา
2. ผลิตภัณฑ์ช่วยให้ผิวนุ่มและชุ่มชื้น หรือครีมที่ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในผิว
3. ตัวครีมหรือยารับประทานเพื่อลดอาการคันและอักเสบ
4. ครีมช่วยฟื้นฟูเกราะปกป้องผิวที่ถูกทำลาย ยาฆ่าเชื้อหรือยาอื่นๆ
วิธีป้องกัน
1. หลีกเลี่ยงการใช้ เครื่องสำอาง ในช่วงที่เกิดอาการแพ้
2. หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่อาจทำให้ผื่นกำเริบ
3. หลีกเลี่ยงสารที่อาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง
4. ใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายโดยเฉพาะ
5. ควรทำความสะอาดสิ่งของที่สัมผัสผิวหน้าเป็นประจำ เช่น อุปกรณ์แต่งหน้า ปลอกหมอน เป็นต้น เพราะอาจมีเชื้อแบคทีเรียสะสมอยู่
6. รักษาด้วยการทายา หรือพบแพทย์เพื่อสอบถามอาการหรือวิธีการรักษาเบื้องต้น
ในช่วงที่ผื่นกำเริบ จะมีอาการคันมาก ต้องห้ามเกาเด็ดขาด เพราะการเกาก็จะยิ่งทำให้สภาพผิวแย่ลงไปอีก
No tags for this post.
0 Comments