ลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร ดูแลอย่างไร ป้องกันลูกเป็นลมพิษเรื้อรัง

โรคลมพิษ คือโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง และเป็นหนึ่งในอาการของโรคภูมิแพ้ สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แม้ว่าจะเป็นเด็กเล็กก็ตาม ซึ่งผู้ที่เป็นจะมีอาการคัน เป็นผื่นแดงทรมาน ยิ่งถ้าเกิดในเด็กเล็กน้อง ๆ ก็จะร้องไห้งอแง ยิ่งทำให้คุณแม่ทรมานใจ วันนี้เราจึงนำสาเหตุ ลักษณะของโรค วิธีป้องกันและวิธีรักษา มาบอกกับแม่ ๆ ที่อาจกำลังกังวลใจ

ลักษณะของ อาการลมพิษในเด็ก

ผู้ที่เป็นจะมีผื่นแดง บวมนูนขึ้นมาจากผิวหนัง มีทั้งผื่นขนาดเล็กและผื่นขนาดใหญ่ปะปนกัน ผู้ที่เป็นจะรู้สึกคัน หากเกาตรงไหนก็จะเกิดผื่นขึ้น บางคนก็อาจมีไข้ร่วมด้วย หรือผู้ที่เป็นมากจะเกิดอาการแสบร้อน จนสัมผัสอะไรไม่ได้ “ผื่นจะหายไปเมื่ออาการแพ้บรรเทาลง และจะไม่หลงเหลือรอยแผลไว้” ผู้ที่เป็นจะหายได้ภายใน 24 ชั่วโมง แต่ถ้าหากมีผื่นสีดำ ตาบวม ปากบวม ปวดท้องรุนแรง หายใจไม่ออก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที โรคนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ “โรคลมพิษเฉียบพลัน” และ “โรคลมพิษเรื้อรัง” ซึ่งจะเป็น ๆ หาย ๆ ต่อเนื่องนานหลายสัปดาห์

ลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร ดูแลอย่างไร ป้องกันลูกเป็นลมพิษเรื้อรัง PAN Pcosmed ศูนย์รวมโซลูชั่นด้านผิวหนังครบวงจร

ลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร ดูแลอย่างไร ป้องกันลูกเป็นลมพิษเรื้อรัง

สาเหตุของ อาการลมพิษในเด็ก

  1. การแพ้อาหารประเภทต่างๆ เช่น ถั่ว นม อาหารทะเล เป็นต้น โดยอาการจะเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง หลังทานอาหารประเภทนั้น หรือถ้าถึงขั้นรุนแรงอาจเกิดภายใน 30 นาที
  2. แพ้ยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดไข้ประเภทแอสไพริน เป็นต้น เพราะยาบางชนิดสามารถกระตุ้นสารบางอย่าง ทำให้เกิดลมพิษได้
  3. อากาศมีฝุ่นละออง ลมพิษที่เกิดจากอากาศและแสงแดด เพราะในอากาศมีฝุ่นละอองมากมาย
  4. การติดเชื้อจากแบคทีเรียและเชื้อรา มักจะพบบ่อยในเด็ก อาจมีอาการไข้หรือบางคนก็ไม่มี
  5. แมลงสัตว์กัดต่อย หรืออาจจะเป็นพืชบางชนิด เป็นสาเหตุที่พบบ่อยเช่นกัน

วิธีการรักษา อาการลมพิษในเด็ก

เมื่อหาสาเหตุได้ว่าลูกน้อยแพ้อะไร ก็ควรให้หลีกเลี่ยง ให้ยาแก้แพ้แก้คัน หรือคารามายแก้คัน ตามที่แพทย์จัดให้

เด็ก ๆ ที่เกิดลมพิษได้ง่าย ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดอาการคัน คุณพ่อคุณแม่ควรจดจำชื่อยาหรืออาหาร หรือสิ่งที่ทำให้ลูกแพ้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคต โรคนี้ไม่สามารถป้องกันได้อย่างจริงจัง เพราะเราไม่รู้เลยว่าเด็ก ๆ จะแพ้อะไรอีกหรือไม่ “ทุกสาเหตุล้วนอยู่ในชีวิตประจำวัน” เด็ก ๆ ต้องพบเจอ การที่คุณพ่อคุณแม่ช่วยกันสังเกตอาการลูก ว่ารุนแรงหรือไม่ก็จะสามารถรับมือได้ทัน หากยังไม่แน่ใจ ก็ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับยามารักษาทันที