ภาวะแทรกซ้อนของสะเก็ดเงิน เป็นอย่างไร?
ผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน มีความเสี่ยงสูงที่จะมีโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น
- โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (Psoriatic arthritis) ที่ทำให้มีอาการปวด บวม และตึงตามข้อ ปลายนิ้ว หรือกระดูกสันหลัง
- การเปลี่ยนแปลงของสีผิวชั่วคราว (Temporary skin color changes)
- โรคเกี่ยวกับดวงตา เช่น โรคตาแดง (Conjunctivitis) เปลือกตาอักเสบ (Blepharitis) หรือม่านตาอักเสบ (Uveitis)
- โรคอ้วน (Obesity)
- เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 diabetes)
- ความดันโลหิตสูง (High blood pressure)
- โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease) โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- กลุ่มโรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่น โรคเซลิแอค (Celiac) โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Sclerosis) หรือโรคโครห์น (Crohn’s disease)
- โรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า (Depression)
สะเก็ดเงิน ติดต่อไหม?
สะเก็ดเงิน ไม่ใช่โรคติดต่อ และไม่สามารถติดต่อถึงกันได้เพียงการสัมผัสกับตุ่ม หรือผื่นผิวหนังของผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน
สะเก็ดเงิน โรคผิวหนังเรื้อรัง ที่รักษาอาการให้ดีขึ้นได้
สะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่สามารถรักษาอาการให้ดีขึ้นได้แม้ยังไม่พบวิธีการรักษาให้หายขาด การรักษาสะเก็ดเงินจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา ความมานะพยายามอย่างต่อเนื่องในการรักษาโรคให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นสะเก็ดเงินเกินกว่าร้อยละ 10 ของผิวหนังร่างกาย ผื่นสะเก็ดเงินอาจส่งผลกระทบด้านจิตใจ ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
ผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างเป็นระบบ ทั้งแบบเดี่ยวหรือแบบผสมผสาน โดยแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อช่วยให้อาการของโรคสะเก็ดเงินและอาการข้างเคียงอื่น ๆ ทุเลาลง พร้อมทั้งช่วยปรับสมดุลระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย และระบบผิวหนังให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ
0 Comments