ภาวะแทรกซ้อนของงูสวัด

ภาวะแทรกซ้อนของงูสวัดมักเกิดขึ้นได้ เนื่องจากผู้ป่วยอยู่ในช่วงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ และภาวะแทรกซ้อนบางอย่างอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตหากได้รับการรักษาที่ล่าช้า แต่มักพบได้น้อย

โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยโรคงูสวัด ได้แก่

อาการปวดปลายประสาทหลังจากเป็นงูสวัด (Postherpetic Neuralgia)

เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะผู้ป่วยอายุ 50 ขึ้นไป ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดแสบเหมือนโดนเข็มตำบริเวณที่เคยเป็นงูสวัด ผิวหนังมักไวต่อการสัมผัส ทำให้รู้สึกเจ็บหรือปวดได้ง่าย และอาการอาจกำเริบเมื่ออากาศเกิดเปลี่ยนแปลง อาการนี้มักจะหายในระยะเวลา 3–6 เดือน แต่บางรายก็อาจกินเวลาหลายปีหรือเป็นต่อเนื่องไปตลอดได้

PAN Pcosmed ศูนย์รวมโซลูชั่นด้านผิวหนังครบวงจร

Shingles affects the nerves.

ปัญหาเกี่ยวกับดวงตา

หากเชื้องูสวัดกระจายไปที่บริเวณดวงตาก็อาจก่อให้เกิดปัญหาอาการปวดตาจากแผลในกระจกตา การติดเชื้อที่เส้นประสาทตา บางรายอาจมีปัญหาต้อหิน ซึ่งอาจส่งผลต่อการมองเห็นได้

โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม (Ramsay Hunt Syndrome)

โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม เป็นโรคที่เกิดจากการที่เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเส้นประสาทสมอง ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปวดหู การได้ยินลดลง เวียนหัว บ้านหมุน ได้ยินเสียงหึ่ง ๆ เกิดตุ่มน้ำภายในหู เสียการรับรู้รสชาติอาหาร ใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งเบี้ยว ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการ

PAN Pcosmed ศูนย์รวมโซลูชั่นด้านผิวหนังครบวงจร

Ramsay Hunt Syndrome

การติดเชื้อที่ผิวหนังและอวัยวะภายใน

ผู้ป่วยอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังหากตุ่มน้ำบนผิวหนังแตกและไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ และอาจเสี่ยงต่อการอักเสบที่อวัยวะต่าง ๆ จากการที่เส้นประสาทในอวัยวะติดเชื้อไวรัส โดยอาการอักเสบที่อันตรายอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนงูสวัด เช่น ปอดอักเสบ ตับอักเสบ ไข้สมองอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ รวมถึงเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่อาจเกิดได้น้อยมาก


แนะนำผลิตภัณฑ์

EAZI Astrinz Gel เจลสมานผิว เริม งูสวัด PAN Pcosmed ศูนย์รวมโซลูชั่นด้านผิวหนังครบวงจร

EAZI Astrinz Gel เจลสมานผิว เริม งูสวัด